Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1417
Title: Presentation tactics The Identity of Adolescents in the Literary Works for Adolescents Awarded by the Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education
กลวิธีการนำเสนออัตลักษณ์วัยรุ่นในวรรณกรรมสำหรับวัยรุ่นที่ได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  
Authors: Chamaiporn Kunlabutdee
ชไมพร กุลบุตรดี
Sopee Untaya
โสภี อุ่นทะยา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: อัตลักษณ์วัยรุ่น
วรรณกรรมสำหรับวัยรุ่น
กลวิธีการนำเสนอ
Teenage Identity
Literature for Youth
Presentation Strategy
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of the thesis was to study the teenage identity and strategies for presentation of teenage identity in fifty-seven literary works for adolescents, awarded as the best fictions among interesting books for adolescents at 12-18 years of age from Office of the Basic Educational Commission under Ministry of Education in the national book awards during B.E. 2547 – 2563. The study was conducted by the qualitative research methodology upon the conceptual framework of teenage identity and presentation strategies.     The findings revealed that there were two levels of teenage identity in those writings: 1) At the individual level, there were five aspects of teenage identity: living life, personality, behavior, emotion, and attitude. 2) At the social level, there were four aspects: living life, behavior, attitude, and gender. Each aspect of teenage identity was presented into two distinct manners; 1) the undesirable identity, which was mostly aimed at description of the individual identity to inform that teenagers expressed violent emotions and behaviors, sensitive to be hurt, and desired independence and freedom from coercion, intimidation, and rules in the society, and 2) the desirable identity, which was aimed at demonstration of the adolescents’ thought and attitude related to adherence to the national key institutions. It was the characteristic encouraged by the government to nurture in Thai adolescents in order to have them to recognize their own roles as a part of the country to participate in the country’s civilization and to specify the country’s future. The strategies for teenage identity presentation were categorized into two concepts: 1) the concept of literary components consisted of five strategies; character development, dialogue development, plotting, scene and location setting, and theme presentation, respectively, and 2) the concept of linguistic components comprised of seven strategies; sentence structure usage, modality, figurative expression, presupposition, rhetorical question, lexical selection, and citation, respectively. Several strategies were simultaneously used to disclose the teenage identity. As a result, the description of youth’s self-identity in the author’s viewpoint and the instillation of youth’s desirable identity were successfully instructed to their perception without any trace of oppression or domination. Such strategies were found useful for socialization of desirable teenage identity as desired by the society. 
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาอัตลักษณ์วัยรุ่น และกลวิธีการนำเสนออัตลักษณ์วัยรุ่นในวรรณกรรมสำหรับวัยรุ่น จำนวน 57 เรื่องที่ได้รับรางวัลจากการประกวดหนังสือดีเด่นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547-2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มหนังสือสำหรับวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ประเภทบันเทิงคดี วิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดอัตลักษณ์และแนวคิดกลวิธีการนำเสนอ      ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์วัยรุ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมกลุ่มนี้มี 2 ระดับ คือ 1) ระดับปัจเจกบุคคล ปรากฏจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านบุคลิกภาพ ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านความคิด ทัศนคติ 2) ระดับสังคม ปรากฏจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านพฤติกรรม ด้านความคิด ทัศนคติ และด้านเพศสภาพ โดยอัตลักษณ์ในแต่ละด้านจะถูกนำเสนอใน 2 ลักษณะ คือ 1) อัตลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนออัตลักษณ์ระดับปัจเจกบุคคลที่สื่อให้เห็นว่า วัยรุ่นจะมีอารมณ์และพฤติกรรมรุนแรงและไวต่อการถูกกระทบกระเทือน มีความต้องการอิสระเสรีและหลุดพ้นจากการถูกบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม และ 2) อัตลักษณ์ที่พึงประสงค์ เป็นการนำเสนออัตลักษณ์วัยรุ่นด้านความคิด ทัศนคติที่เป็นความมุ่งหมายของสังคม มีความเกี่ยวข้องกับความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่รัฐได้พยายามปลูกฝังให้เกิดแก่วัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่นตระหนักถึงบทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชาติและมีส่วนช่วยให้เกิดความเจริญและมีส่วนกำหนดอนาคตของชาติ ส่วนกลวิธีการนำเสนออัตลักษณ์วัยรุ่นข้างต้นสามารถจำแนกได้ 2 แนวคิด คือ 1) แนวคิดองค์ประกอบทางวรรณกรรม ปรากฏ 5 กลวิธี ได้แก่ ตัวละคร บทสนทนา โครงเรื่อง ฉากและสถานที่ และแก่นเรื่อง ตามลำดับ 2) แนวคิดกลวิธีทางภาษา ปรากฏ 7 กลวิธี ได้แก่ การใช้ประโยคโครงสร้างแบบต่าง ๆ การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้ความเปรียบ การใช้มูลบท การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ การเลือกใช้คำศัพท์ และการกล่าวอ้าง ตามลำดับ ทั้งนี้ กลวิธีดังกล่าวจะปรากฏร่วมกันหลายกลวิธี เพื่อสื่ออัตลักษณ์วัยรุ่นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ทำให้การอธิบายอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นในมุมมองของผู้เขียน และการปลูกฝังอัตลักษณ์ที่เป็นความต้องการของสังคมถูกถ่ายทอดสู่การรับรู้ของวัยรุ่นได้อย่างแนบเนียน โดยไม่แสดงออกถึงการบังคับหรือครอบงำซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกล่อมเกลาอัตลักษณ์วัยรุ่นที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคมต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1417
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010182004.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.