Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1420
Title: Dhammma’s Books Vipasaana Isan : Communication of Themes and Partial Ideologilization
หนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน : การสื่อสารสารัตถธรรมและการสร้างอุดมการณ์
Authors: Kusuma Soommat
กุสุมา สุ่มมาตร์
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: หนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน
การสื่อสารสารัตถธรรม
อุดมการณ์
Dhamma’s Books Vipasaana Isa
Communication of Content
Ideology
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Phra Sai Patibat Isan (Isan forest masters) refers to bhikkhus who play a crucial role in the propagation of Buddhism in the northeastern region of Thailand (Isan), including both those of Dhammayuttika Nikaya and Maha Nikaya, mostly from the former. Even though all of Phra Sai Patibat Isan have long since passed away, their reputation remains in the memory of Thai Buddhists. The objectives of this thesis are as follows: 1) to analyze the essence of dharma that appears in the Dharma Books of Phra Sai Patibat Isan; 2) to analyze the linguistic strategies employed in the Dharma Books of Phra Sai Patibat Isan; 3) to analyze the ideologies in the Dharma Books of Phra Sai Patibat Isan, through a study on 14 Dharma Books, consisting of 858 narratives of 5 Isan monks, namely Phra Ajaan Mun Bhuridatta, Phra Ajarn Fan Ajaro, Phra Ajahn Thate Desaransi, Phra Ajahn Chah Subhaddo, and Phra Ajahn Bua Yanasampanno. There are 2 types of Dharma Books used in this research, namely those that compile their biography and those that feature their teachings.  Theoretical concept of Kanchana Tonpo (2013) was applied to the essence study; theoretical concept of Pisit Kobbun (1999) was applied to linguistic strategies; and theoretical concept of Rachada Labyai (2014) was applied to the study of ideologies. The results of the study showed that the characteristics of Dharma Books that contain the biographies structured the contents based on significance of the 9 periods of Isan bhikkhus’ stories as follows: the story of youth life, the story of the beginning of the ordination, the story of the Dharma theorical study,  the story of dharma practice at temple, the story of monastic practice with senior bhikkhus, pilgrim journeys, propagation of Buddhism, social devotion, and the story of their life before death. For the essence of the Dharma Book of Phra Sai Patibat Isan, based on the study of the 14 Dharma Boks, it was found that the essence is divided into 3 topics, namely 1) the topic of merit; 2) the nature of dharma; and 3) the topic of meditation. There are 4 points of essence communication in the Dharma Book of Phra Sai Patibat Isan: 1) essence communication by the strategy of using words; 2) essence communication by the strategy of using sentences; 3) essence communication by composing messages; 4) essence communication using narratives. Regarding the ideologies in the Dharma Books of Phra Sai Patibat Isan, based on the study on the 14 Dhamma books, there were 6 important ideologies, consisting of 1) Buddhist ideology of Phra Sai Patibat Isan; 2) sacred ideology; 3) localist ideology; 4) ecological ideology; 5) gender ideology; 6) nationalism ideology.
พระสายปฏิบัติอีสานเป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พุทธศาสนาในภาคอีสาน ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์ธรรมยุตนิกายและมหานิกาย แต่โดยมากเป็นฝ่ายธรรมยุต แม้ว่าพระสายปฏิบัติอีสานจะมรณภาพนานแล้วแต่ชื่อเสียงของท่านเหล่านั้นยังคงอยู่ในความทรงจำของพุทธศาสนิกชนชาวไทย วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สารัตถธรรมที่ปรากฏในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน 2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน 3) เพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือธรรมะ 14 เล่ม 858 เรื่องของพระสายปฏิบัติอีสาน 5 รูป ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต  พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี  พระอาจารย์ชา  สุภทฺโท และพระอาจารย์มหาบัว  ญาณสมฺปนฺโน ซึ่งหนังสือธรรมะที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท คือ หนังสือธรรมะประเภทชีวประวัติ และหนังสือธรรมะประเภทคำสอน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีในการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาสารัตถธรรมซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดของกาญจนา ต้นโพธิ์ (2556) การศึกษากลวิธีทางภาษาซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดของพิสิทธิ์ กอบบุญ (2542) และการศึกษาอุดมการณ์ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดของรัชดา ลาภใหญ่ (2557) ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของหนังสือธรรมะประเภทประวัติมีการนำเสนอโครงสร้างเนื้อหาโดย เรียงลำดับหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับพระสงฆ์อีสาน 9 เรื่อง เรียงลำดับได้ดังนี้ เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตในวัยเยาว์ เนื้อหาเกี่ยวกับช่วงเริ่มต้นบวช เนื้อหาเกี่ยวกับการเริ่มต้นบวช  เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตช่วงเรียนธรรมะภาคทฤษฎี เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตช่วงปฏิบัติธรรมในวัด  เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตช่วงฝึกปฏิบัติธรรมกับพระเถระต่างๆ ฝึกปฏิบัติธุดงค์ในสถานที่ต่างๆ เผยแผ่พุทธศาสนา เนื้อหาเกี่ยวกับอุทิศตนเพื่องานสังคมสงเคราะห์ และเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตช่วงในช่วงมรณภาพ สารัตถธรรมที่ปรากฏในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน จากการศึกษาข้อมูลหนังสือธรรมะทั้ง 14 เล่ม พบว่า มีการนำเสนอสารัตถธรรม 3 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่องกุศล  2) เรื่องสภาวธรรม 3) เรื่องกรรมฐาน การสื่อสารสารัตถธรรมในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน พบว่า  มีการสื่อสารสารัตถธรรม 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1) กลวิธีการใช้คำ 2) กลวิธีการใช้ประโยค 3) กลวิธีการเรียบเรียงข้อความ 4) กลวิธีการเล่าเรื่อง อุดมการณ์ในหนังสือธรรมะของพระสายปฏิบัติอีสาน จากการศึกษาข้อมูลในหนังสือธรรมะทั้ง 14 เล่ม ปรากฏอุดมการณ์ที่สำคัญ มี 6 อุดมการณ์ ประกอบด้วย 1) อุดมการณ์พุทธศาสนาของพระสายปฏิบัติอีสาน 2) อุดมการณ์ความศักดิ์สิทธิ์  3) อุดมการณ์ท้องถิ่นนิยม 4) อุดมการณ์เชิงนิเวศน์ 5) อุดมการณ์เพศสถานะ 6) อุดมการณ์ชาตินิยม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1420
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010161001.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.