Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/173
Title:  Struggle and Livelihoods Rehabilitation of  Rasisalai Dam Affected people   
การต่อสู้และการฟื้นฟูวิถีชีวิตผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล
Authors: Dararat Kantawong
ดารารัตน์  กันทวงค์
Somchai Phatharathananuntha
สมชัย ภัทรธนานันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การต่อสู้
การฟื้นฟูวิถีชีวิต
ผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล
Struggle
Livelihoods
Rasisalai Dam Affected people
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This paper analyses the livelihood rehabilitation of affected communities around the Rasisalai dam in Sisaket, Roi-et and Surin provinces. The dam is one of fourteen dams of the Kong-Chi-Moon project. The building of the dam caused flooding that affected 7,700 families. After years of struggle, villagers managed to win concession from the government. The government agreed to assign fund for livelihood rehabilitation to affected communities for 10 years. From 2013 onwards, villagers have tried to rehabilitate their livelihoods by concentrated on 4 principles. Firstly, rehabilitation must carry out through group effort, because the effect created by the dam cannot solve by individual; it need collective action. In addition, collective effort also vital for maintaining villagers’ bargaining power. Without bargaining power, it is possible that the government would withdrew their support. Secondly, villagers have to change from chemical farming to organic one in order to reduce cost, cultivating area and more importantly, to reduce the harmful of pesticide on farmers’ health. Thirdly, Villagers have to create an alternative market for their products. This task will carry out through the existing networks of NGOs and communities. However, it is necessary for villagers to use social media to promote their products.  Fourthly, to make the above tasks materialize, communities need a learning center to popularize and practices organic farming among their members. All of these principles would became a new model for setting up new livelihood of villagers.
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์กระบวนการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบรอบเขื่อนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ, ร้อยเอ็ด, และสุรินทร์ ซึ่งเขื่อนดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในเขื่อน 14 แห่งในโครงการโขง-ชี-มูล ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ กว่า 7,700 ครัวเรือน ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต้องผ่านการต่อสู้นานนับปีกว่าที่จะได้ขอสรุปเรื่องการชดเชยจากรัฐบาลในรูปของการอนุมัติงบประมาณกองทุนเพื่อการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เป็นเวลา 10 ปี โดยนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต่างพยายามที่จะฟื้นฟูวิถีชีวิตภายใต้กรอบคิดสี่ข้อ ประการแรกคือการรวมกลุ่ม เนื่องด้วยชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต่างตระหนักได้ว่าการแก้ปัญหาไม่อาจเกิดได้ในระดับปัจเจกเพียงลำพัง แต่ต้องเกิดขึ้นจากการสร้างอำนาจต่อรองของชาวบ้านร่วมกันขึ้นมา ประการที่สอง ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบต่างต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการทำเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุน การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และที่สำคัญคือเพื่อลดผลกระทบจากยาฆ่าแมลงที่ส่งผลต่อสุขภาพคนและสิ่งแวดล้อม ประการที่สาม ชาวบ้านได้สร้างตลาดทางเลือกขึ้นมาเพื่อนำผลผลิตออกขายสู่ตลาด ผ่านช่องทางเครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายระหว่างชุมชนต่างๆ รวมถึงการนำสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการขายผลผลิต ประการที่สี่ ได้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อให้ชุมชนต่างๆได้เรียนรู้ และเพื่อหนุนเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ระหว่างสมาชิกด้วยกันให้แพร่หลายและเป็นรูปธรรม ซึ่งกรอบคิดทั้งสี่ประการข้างต้นนี้ ได้กลายมาเป็นตัวแบบสำหรับการสร้างวิถีชีวิตใหม่ให้แก่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล  
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/173
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010181002.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.