Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/174
Title: Livelihoods Trajectories of Chi River Basin's Farmers in the Contract Farming of Fish Cages
ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรที่เข้าและออกจากระบบเกษตรพันธะสัญญาการเลี้ยงปลากระชังในลุ่มน้ำชี
Authors: Promsuda Sreenetr
พร้อมสุดา  ศรีเนตร
Chainarong Sretthachau
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ยุทธศาสตร์การดำรงชีพ
ระบบเกษตรพันธะสัญญาการเลี้ยงปลากระชังในลุ่มน้ำชี
Livelihoods Trajectories
Chi River Basin's Farmers in the Contract Farming of Fish Cages
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims to analyses three major issues; 1) the condition which caused Chi River’s basin farmers to engaged and withdraw from fish cage in contract farming and 2) livelihoods trajectories of Chi River Basin’s farmers of fish cage in contract Farming 3) important lesson learned for the farmers in contract farming and independent. This thesis applies the concept of livelihoods trajectory and social capital. The fieldwork was conduct through participant observation, key informant interview and group discussion at Baan Din Dam, Muang District, Mahasarakham Proinve in 2017. The finding are as following. First, the major conditions which lead farmers into contract farming are the supports from capital such as new technique, loan in term of fry, food for feed the fish, and medicine and capital quarantine fish’s price at the beginning. While farmers have natural capital, particularly the Chi river which are common proper. However, farmers gave up fish cage contract farming because they faced with higher costs. They also bear the burden such as risk from fish’s disease, quality if small fish which loan by capital, and uncertain fish price because the capital did not buy fish from farmers as they did at the beginning. Second, After withdrew from contract farming, some farmers conducted independent fish cages, while others turned to other kinds of farming Both of them were able to use their social capital to create market for their products. Third, the important lesson learned for the farmers in contract farming and independent are cost reduction, marketing, and diversify of production. In summary, the finding of the thesis point out that the ethnographical approach with the concept of livelihoods trajectory and social capital enhance our understanding of livelihood of Chi River Basin’s farmers.
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เกษตรกรเข้าสู่ระบบเกษตรพันธะสัญญาและออกจากระบบเกษตรพันธะสัญญา ประการสอง เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในลุ่มน้ำชี ประการที่สาม เพื่อศึกษาบทเรียนของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังภายใต้เงื่อนการผลิตแบบพันธะสัญญาและการผลิตแบบอิสระ โดยนำแนวคิดยุทธศาสตร์การดำรงชีพ  และแนวคิดทุนทางสังคมมาใช้ในการอธิบายและวิเคราะห์ผลการศึกษา และศึกษาพื้นที่บ้านดินดำ หมู่ 1  และหมู่ 11  ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ.2560-2561 โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (documentary research) ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observation)  การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่ม พบผลการศึกษาดังนี้ ประการแรก พบว่า เงื่อนไขที่ทำให้เกษตรกรตัดสินใจเข้าสู่การผลิตภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญามี  2  เงื่อนไข คือ เงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากเกษตรกร เช่น การมีช่องทางการหาทุนการเงิน การมีพื้นที่ติดแม่น้ำชี การมีแรงงานที่เพียงพอ และการมีความรู้ และเงื่อนไขของบริษัทได้เอื้อต่อการเลี้ยงปลากระชังของเกษตรกร เช่น  การไม่ต้องจัดหาปัจจัยการผลิตเอง การไม่ต้องหาคนจับปลาและหาตลาดรับซื้อผลผลิต จากนั้นจะเห็นว่า การแบกรับความเสี่ยงเพียงฝ่ายเดียวของเกษตรกรทำให้เป็นเงื่อนไขที่เกษตรกรตัดสินใจออกจากการผลิตภายใต้เงื่อนไขของบริษัทหรือออกไปผลิตแบบอิสระ ประการที่สอง พบว่า ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในลุ่มน้ำชีทั้งกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงปลากระชังแบบอิสระ และกลุ่มเกษตรกรที่เลิกเลี้ยงปลาเพื่ออกไปทำการผลิตแบบอื่นได้มีการเลือกใช้ทุนของตนเองและเลือกทำตามศักยภาพของครอบครัวและตนเอง อีกทั้งยังใช้เครือข่ายทางสังคมเป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อระบบการผลิตของตนเอง ประการที่สาม พบว่า บทเรียนที่สำคัญของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังภายใต้เงื่อนไขการผลิตแบบอิสระ มี 3 ประเด็น ได้แก่ การลดต้นทุน การสร้างตลาด การผลิตที่หลากหลาย โดยสรุป วิทยานิพนธ์นี้ชี้ให้เห็นว่าวิธีการทางด้านชาติพันธุ์วรรณนา และการใช้แนวคิดยุทธศาสตร์การดำรงชีพ และแนวคิดทุนทางสังคมทำให้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวนาลุ่มน้ำชีได้เป็นอย่างดี
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/174
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010181005.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.