Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1769
Title: Developing multimedia to improve MDI technique for people with asthma
การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเพิ่มความถูกต้องในการใช้ยาพ่นสูดรูปแบบ Metered Dose Inhaler ในผู้ป่วยโรคหืด
Authors: Panida Chaiouan
พนิดา ไชยอ้วน
Juntip Kanjanasilp
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: โรคหืด
ยาพ่นสูด
สื่อมัลติมีเดีย
ภาษาอีสาน
สมรรถภาพปอด
asthma
inhaler
multimedia
Isaan dialect
lung function
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed to develop multimedia in Isaan dialect to demonstrate local patients with asthma how to use MDI and to assess the validity of their MDI-application skill and clinical outcomes. The study was divided into 2 phases and carried out at Bueng Khong Long Hospital, Bueng Kan. Multimedia and an evaluating tool were designed and constructed in phase 1 and 1-group semi-experiment was, subsequently, completed in phase 2 (between April 2019 and March 2020). Seventy-five patients capable of communicating in Isaan dialect were recruited in the study, in which they were required to watch the multimedia twice at week 0 and week 4. All patients were tested for their perception and MDI-application skill before and after watching the multimedia both at week 0 and week 4. Additionally, clinical outcomes, including ACT score, PEFR, FEV1, FVC and FEF25-75%, were monitored. The results revealed that mean of patient perception score of 8.28±1.32 and MDI-application score of 8.81±1.09 after watching the multimedia were significantly higher than those of 5.67±1.44 and 5.61±1.65, before watching the multimedia (p < 0.001) respectively. It was also found that patient perception and the validity of MDI-application skill decreased with time as both patient perception score and MDI-application score before watching the multimedia at week 4 were lower than those after watching the multimedia at week 0. However, mean of patient perception score of 8.93±0.94 after watching the multimedia at week 4 was significantly higher than that of 8.28±1.32 at week 0 (p < 0.001). Similarly, clinical outcomes monitored at week 4 were significantly higher than those at week 0 (p<0.001) as ACT score, FEV1 and FEF25-75% at week 0 were shown to be 20.27, 1.95  and 1.71, respectively, and those at week 4 were 20.97, 2.10 and 1.90, respectively. Other clinical outcome monitored at week 0 and 4 such as PEFR (5.70±1.47 to 5.83±1.42) and FVC (2.77±0.61 to 2.84±0.58) did statistically differ (p<0.05) significantly Moreover, 56 (74.67%) of patients  able to control their asthmatic symptoms at week 4 was significantly more than that of 43 (57.33%) at week 0 (p < 0.001). In conclusion, the developed multimedia could be used to significantly increase patient perception and the validity of MDI-application skill, thereby resulting in improvement of clinical outcomes of asthma patients mainly communicating in Isaan dialect.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้  เป็นการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภาษาอีสานเพื่อช่วยสอนเทคนิคการพ่นยาสำหรับผู้ป่วยโรคหืดที่มีการใช้ยาไม่ถูกต้อง เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความถูกต้องของวิธีใช้ยาพ่นสูดรูปแบบละอองลอย รวมทั้งผลลัพธ์ทางคลินิกโดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหืด ณ โรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ การศึกษานี้จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเพิ่มความถูกต้องของการใช้ยาพ่นสูด การสร้างเครื่องมือประเมินและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ระยะที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่มวัดก่อนและหลัง  เพื่อประเมินผลการใช้สื่อมัลติมีเดีย (โดยทำการศึกษาช่วงเดือนเมษายน 2562 – เดือนมีนาคม 2563) ในผู้ป่วยจำนวน 75 ราย ซึ่งสามารถสื่อสารด้วยภาษาอีสาน ที่ส่งผลต่อความรู้และความถูกต้องของเทคนิคการใช้ยาพ่นสูดรวมทั้งผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้เข้าร่วมวิจัยโดยวัดก่อนและหลังการรับชมสื่อมัลติเดีย ที่ 0 และ 4 สัปดาห์ สำหรับผลลัพธ์ทางคลินิกที่ติดตามได้แก่ ACT score, PEFR, FEV1, FVC และ FEF25-75% โดยผลการศึกษาการใช้ยาพ่นสูดรูปแบบ Metered Dosed Inhaler พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ หลังให้คำแนะนำโดยเภสัชกรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จาก 5.67±1.44  เป็น 8.28±1.32, p<0.001) และความถูกต้องในการใช้ยาพ่นสูด หลังให้คำแนะนำโดยสื่อมัลติมีเดียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จาก 5.61±1.65 เป็น 8.81±1.09, p<0.001) ทั้งในสัปดาห์ที่ 0 และ 4 แต่กลับพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปคะแนนความรู้และความถูกต้องเฉลี่ยกลับลดลงโดยผลคะแนนเฉลี่ยที่ก่อนรับคำแนะนำในครั้งที่ 2 ที่สัปดาห์ที่ 4 น้อยกว่าผลคะแนนเฉลี่ยภายหลังการให้คำแนะนำในครั้งที่ 1 (8.28±1.32 เป็น 7.61±1.29)  แต่เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับคำแนะนำในครั้งที่ 2 คะแนนความรู้เฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นมากกว่าภายหลังการให้คำแนะนำในครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จาก 8.28±1.32 เป็น 8.93±0.94, p<0.001) สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางคลินิกที่พบว่า ในสัปดาห์ที่ 4 มี ค่าเฉลี่ยของ ACT score, PEFR, FEV1, FVC และ FEF25-75% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จาก 20.27 เป็น 20.97,p<0.001; จาก 5.70 เป็น 5.83, p=0.002; จาก 1.95 เป็น 2.10, p<0.001; จาก 2.77 เป็น 2.84, p=.028; จาก 1.71 เป็น 1.90, p<0.001ตามลำดับ) รวมถึงระดับการควบคุมโรคหืดที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จาก 43 ราย (57.33%) เป็น 56 ราย (74.67%), p<0.001)   สรุปผล การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียชุดนี้สามารถเพิ่มความรู้และความถูกต้องในการใช้ยาพ่นสูดรูปแบบ Metered Dosed Inhaler รวมทั้งช่วยให้ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคหืดที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอีสานดีขึ้น
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1769
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010780009.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.