Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1775
Title: | Evaluation of the Pilot Project on Drug-Dispensing Services in Pharmacies to Reduce Overcrowding in Chaiyaphum Province and Mahasarakham Province การประเมินผลการดำเนินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาจังหวัดชัยภูมิและมหาสารคาม |
Authors: | Jurarut Hadwisad จุฬารัตน์ ฮาดวิเศษ Surasak Chaiyasong สุรศักดิ์ ไชยสงค์ Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy |
Keywords: | การรับยาที่ร้านขายยา ความแออัดในโรงพยาบาล การประเมินโครงการ เภสัชกรรมโรงพยาบาล prescription refill at pharmacy congestion in hospital project evaluation hospital pharmacy |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Objective: To evaluate the pilot project of Drug-dispensing services in pharmacies to reduce overcrowding in Mahasarakham Hospital and Chaiyaphum Hospital based on Logic Model (input, process, output and outcome) and to determine barriers and facilitators of the project implementation and recommendations for improvement of the project.
Method: An evaluation research was conducted using mixed methodologies. 76 key informants were interviewed (34 providers and 42 patients, where 22 patients were project participants and 20 patients were not). Document study and database analysis were performed. Data were collected between October 2019 and September 2020.
Results: This study found that supportive policy, man, money, tool and equipment, and information system were key inputs of the project. For process, Mahasarakham hospital provided services of model 1 which the hospital prepared medication and delivered the prepared medication to community pharmacies. There were 13 community pharmacies and 225 patients participated in this project. Of 225 patients, most patients had asthma (53.77%), diabetes (27.11%) and benign prostate hyperplasia (14.22%). For Chaiyaphum hospital, model 2 was implemented, which the hospital has to stock medication at the participating community pharmacies. There were 15 community pharmacies and 48 patients participated in the project. Of these patients, most were diabetic (54.17%), hypertensive (25.00%) and asthmatic (18.75%). As a result of the project, the patients who participated in this project were highly satisfied with this project because of its convenience and fast drug services. Both project participating and non-project participating patients had the lowest satisfaction with lacking useful information and enthusiasm/attention to recruit them into the project. When assessing the project with its goal, Mahasarakham hospital did not achieve its goal of having patients participating in this project at least 20% (it got only 9.85%). Unlike, Chaiyaphum hospital which just set a goal as running the project and it could easily achieve the goal. Nonetheless, the project had impacts on reduction in time and expenditure the patients spent for getting hospital services. The problem of this project was that there were a small number of patients participating in this project and barriers/reasons of this problems were that the project was limited to only patients under the universal health coverage scheme and lack of project advertisement as well as other completing projects i.e., delivering medication to patients at heath centers.
Conclusion: The project could not reduce the congestion at the hospitals but it could provide patients more convenient and better services. However, this project could be improved in several aspects including more advertising and providing sufficient useful information to patients, expanding this project to patients with other health insurance schemes, and improving inputs and processes of the project based on hospital and community contexts. เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชัยภูมิ ตามกรอบแนวคิดเชิงตรรกะ Logic Model (ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์) และวิเคราะห์อุปสรรคและปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินโครงการ และหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผลโดยมช้วิธีการผสมผสาน สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด 76 คน ประกอบด้วย ผู้ให้บริการ 34 คน และผู้ป่วย 42 คน (ผู้เข้าร่วมโครงการ 22 คน และไม่เข้าร่วมโครงการ 20 คน) ทำการศึกษาเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาล เก็บรวบรวมระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2562-กันยายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัย: ปัจจัยนำเข้าสำคัญในการดำเนินโครงการ ได้แก่ นโยบายสนับสนุน คน เงิน วัสดุ-อุปกรณ์ และระบบสารสนเทศ สำหรับกระบวนการดำเนินงาน โรงพยาบาลมหาสารคามจัดบริการรูปแบบที่ 1 คือ โรงพยาบาลเป็นผู้จัดหาและส่งยาให้กับร้านขายยาเพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วย มีร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ 13 ร้าน และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 225 คน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคหอบหืด (ร้อยละ 53.77) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 27.11) และโรคต่อมลูกหมากโต (ร้อยละ 14.22) ตามลำดับ และโรงพยาบาลชัยภูมิจัดบริการรูปแบบที่ 2 คือ โรงพยาบาลเป็นผู้จัดหาและสำรองยาไว้ที่ร้านขายยา โดยให้เภสัชกรที่ร้านขายยาดำเนินการจัดและจ่ายยาให้ผู้ป่วย ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ 15 ร้าน และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 48 คน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน (ร้อยละ 54.17) โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 25.00) และโรคหอบหืด (ร้อยละ 18.75) ตามลำดับ ผลจากการดำเนินโครงการ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากกับการบริการในร้านขายยาโดยเฉพาะด้านความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ผู้ป่วยที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านการได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และความกระตือรือร้น/ความเอาใจใส่ในการให้ข้อมูล เมื่อประเมินการบรรลุเป้าหมายของโครงการ พบว่า โรงพยาบาลมหาสารคามยังไม่บรรลุเป้าหมาย (เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นเพียงร้อยละ 9.85 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 20) โรงพยาบาลชัยภูมิสามารถบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกำหนดเป้าหมายไว้เพียงมีการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ การดำเนินโครงการยังทำไห้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วยที่อยู่นอกโครงการ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของโครงการที่พบ ได้แก่ ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการยังมีจำนวนน้อย การกำจัดคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการตามสิทธิรักษาพยาบาล การมีรูปแบบบริการรับยาอื่น ๆ เช่น การส่งยาทางไปรษณีย์ และรับยาที่ รพสต. และโครงการยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่อง สรุป: โครงการนี้ยังไม่สามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลได้ แต่ทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับบริการที่ดี สะดวก สบาย และรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การให้ข้อมูลที่เพียงพอแต่ผู้ป่วย การขยายคุณสมบัติของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถครอบคลุมผู้ป่วยจากสิทธิการรักษาสุขภาพอื่น ๆ และการพัฒนากระบวนการจัดบริการให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm.) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1775 |
Appears in Collections: | The Faculty of Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62010781008.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.