Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1860
Title: Outcomes of electronic medication reconciliation development process between hospital and primary care unit
ผลการพัฒนากระบวนการประสานรายการยาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ
Authors: Amornrut Temwong
อมรรัตน์ เต็มวงษ์
Saithip Suttiruksa
สายทิพย์ สุทธิรักษา
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การประสานรายการยา
หน่วยบริการปฐมภูมิ
ความคลาดเคลื่อนทางยา
ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ชุดคำสั่งอิเล็กทรอนิกส์
โรงพยาบาล
Electronic medication reconciliation
Primary care unit
Medication reconciliation
Medication error
Hospital
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective: To design and evaluate outcomes of electronic medication reconciliation (MR) development process between hospital and primary care unit. Methods: Data collection included Phase 1: Plan, Document analysis of current situation and problems of MR process, Phase 2: Development of MR process and Phase 3: Test, implementation and evaluate the outcome newly proposed MR process of the hospital admitted at the in-patient ward among patients and continued care in the primary care unit with diabetes mellitus, hypertension and other by using descriptive statistics. Results: The results showed MR process between hospital and primary care unit increase from 77.88 % to 100% (p<0.001). The duration of the follow-up medication history was reduced from 429.79 ± 868.50 minutes to 1.00 minute, and duration for receive medication decreased from 482.04 ± 913.64 minutes to 33.78 ± 93.08 minutes, (p<0.001). Reduced untreated indications 22.12% (p<0.001). All of medication error and harm decrease from 18.27% to 5.77% (p<0.001). Average staff satisfaction on system efficiency and benefits 4.06 ± 0.41 (Out of 5 Scores), design 3.90 ± 0.54, support for use 4.07 ± 0.71. Conclusion: The development of MR process with the electronic resulted in increased in-patient care coverage. Prevention and reduce the incidence of medication error and harm between hospital and primary care units.
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างและประเมินชุดคำสั่งอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการประสานรายการยาสำหรับผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ  วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) วางแผน วิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาของกระบวนการประสานรายการยา 2) พัฒนาระบบและกระบวนการของการประสานรายการยาและทดสอบระบบ 3) นำระบบลงสู่การปฏิบัติ ประเมินผล และเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการประสานรายการยาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงหรือโรคร่วมอื่นๆ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ เปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในก่อนและหลังการศึกษากลุ่มละ 104 ครั้ง พบว่าร้อยละของการประสานรายการยาเพิ่มขึ้น (77.88 และ 100 ; p<0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยในการติดตามข้อมูลทางยาของผู้ป่วยลดลง (429.79 ± 868.50 และ 1.00 นาที; p<0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยในได้รับยาเดิมของผู้ป่วยลดลง (482.04 ± 913.64 นาที เป็น 33.78 ± 93.08 นาที ; p<0.001) ลดปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้รับ ร้อยละ 22.12 (p<0.001) และคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงระดับ D (มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ยังมีความจำเป็นต้องติดตามผู้ป่วยเพิ่มเติม) ลดลง (18.27 เป็นร้อยละ 5.77; p< 0.001) คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่ (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) ต่อด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบ (4.06 ± 0.41) ด้านการออกแบบ (3.90 ± 0.54) ด้านการสนับสนุนการใช้งาน (4.07 ± 0.71) สรุป: ชุดคำสั่งอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดระยะเวลาในการประสานรายการยา และช่วยป้องกันและลดความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเกิดระหว่างรอยต่อการให้บริการระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1860
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010781005.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.