Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1861
Title: The Development of Standards Criteria of Quality Grocery Store
การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ
Authors: Sawai Tantawut
ไสว ตันทวุทธ
Somsak Arparsrithongsagul
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: เกณฑ์ร้านชำคุณภาพ
ความรอบรู้
ยาอันตราย
the standard of quality grocery store
literacy
dangerous drug
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This Mixed-Method research aims to develop the standards criteria of quality grocery store and survey the grocery stores in Uthumpornphisai District, Sisaket Province. The study divided  into two phases: phase 1, Developing a standards criteria of quality grocery and data collection form according to grocery store standards by experts panel and focus group discussion. phase 2, The standards criteria were used to study the situation of grocery stores in the area. The results showed that the standards criteria of quality grocery store consisted of  3 topics : 1.places category 4 items 2.health products category 16 items (drugs 8 items, foods  6 items,  cosmetics  2 items) 3.literacy category 10 items (drugs 5 items foods  3 items  cosmetic  2 items) by 92 participants were randomized by convenience sampling are female (84.6 %), age more than 50 years old (68.1%), married (83.3%), primary school education (56%), merchant (72.4%), sufficient income but not enough saving (73.6%). Three part of questionnaires, Places; The grocery shop were clean no spider web (78.26%), The cosmetics were protected from sun light (88.46%), clean food (95%), category arrangement (92.39%) ; health products, household remedies (84.78%), no polypharmacy but found dangerous drug (15.22%), correct food products lebel (75%), FDA number on seasoning food products(100%), no food deterioration(98.91%), no canned food swollen, dented, rusty (97.83%), no smelly fermented food (95.65%), no moldy bread (97.83%), correct cosmetic products (100%), health product literacy ;  have medicine literacy (77.17%), have food literacy (97.83%), have cosmetic literacy (54.35%) Recommendation is the standards criteria of quality grocery store can development apply and evaluation grocery stores also the standards criteria of quality grocery store apply survey the grocery stores so that health workers management drugs foods and cosmetics problems for consumer safety.
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาแบบผสม (Mixed-Method Research) เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพ และสำรวจสถานการณ์ร้านชำโดยใช้เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพและแบบเก็บข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพโดยใช้คณะผู้เชี่ยวชาญและจัดทำสนทนากลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับร้านชำในพื้นที่ ระยะที่ 2 นำเกณฑ์ฯที่พัฒนาขึ้นไปศึกษาสถานการณ์ร้านชำในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า เกณฑ์ร้านชำคุณภาพประกอบด้วยเกณฑ์1.หมวดสถานที่ จำนวน 4 ข้อ 2.หมวด หมวดผลิตภัณฑ์ จำนวน 16 (ข้อ ยา 8 ข้อ อาหาร 6 ข้อ เครื่องสำอาง 2 ข้อ) 3.หมวดความรอบรู้ จำนวน 10 ข้อ  (ยา 5 ข้อ อาหาร 3 ข้อ เครื่องสำอาง 2 ข้อ) โดย กลุ่มตัวอย่างร้านชำ 92 ร้านในอำเภออุทุมพรพิสัย ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 84.6 เพศชายร้อยละ 15.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 68.1 สถานภาพคู่ ร้อยละ 83.3 การศึกษาสูงสุด ชั้นประถมศึกษาร้อยละ 56  อาชีพหลัก ค้าขายร้อยละ 72.4 การใช้จ่ายของครอบครัว เพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บร้อยละ 73.6 สถานที่จำหน่ายสะอาดไม่เจอหยากไย่ร้อยละ 78.26 ไม่มีแสงแดดส่องถึงกรณีมีจำหน่ายเครื่องสำอางร้อยละ 88.46 อาหารสะอาดร้อยละ 95 แยกหมวดหมู่การขายร้อยละ 92.39 หมวดผลิตภัณฑ์ยา จำหน่ายยาสามัญประจำบ้านร้อยละ 84.78 ยาที่พบคือ พาราเซตามอล (แผง) ไม่มียาชุด ร้อยละ 100 แต่พบการจำหน่ายยาอันตรายร้อยละ 15.22 เช่นไพรอกซิแคม ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเครื่องปรุงฯมีเลขสารบบอาหารร้อยละ 100 ไม่มีอาหารแห้งที่ไม่มีฉลากร้อยละ 75ไม่มีอาหารเสื่อมคุณภาพร้อยละ 98.91 ไม่มีอาหารกระป๋องที่บุบ/มีสนิมร้อยละ 97.83 ไม่มีอาหารดองที่มีกลิ่นฟองหรือสีฉูดฉาดร้อยละ 95.65 ไม่มีขนมปังมีเชื้อราร้อยละ 97.83 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ไม่พบการจำหน่ายเครื่องสำอาง/ไม่มีเลขจดแจ้ง/ทาฝ้าหน้าขาวร้อยละ 100 หมวดความรอบรู้ มีความรอบรู้ด้านยาร้อยละ 77.17 มีความรอบรู้ด้านอาหารร้อยละ 97.83 มีความรอบรู้ด้านเครื่องสำอางร้อยละ 54.35  ดังนั้น เกณฑ์ฯที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและประเมินร้านชำได้ และสามารถบอกสถานการณ์ปัญหาของร้านชำในชุมชนเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สามารถนำไปใช้จัดการปัญหายา อาหารและเครื่องสำอางเพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1861
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010781005.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.