Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1912
Title: Women and Sexual Politics in Lanna Jataka Literary Works
ผู้หญิงกับการเมืองเรื่องเพศในวรรณกรรมชาดกล้านนา
Authors: Donlaya Kaewkhamsaen
ดลยา  แก้วคำแสน
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
sumalee.c@msu.ac.th
sumalee.c@msu.ac.th
Keywords: วรรณกรรมชาดกล้านนา
ภาพแทนผู้หญิง
การเมืองเรื่องเพศ
Lanna Jataka Literary Works
The Representation of Women
Sexual Politics
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The dissertation having 2 objectives were 1) to analyze the techniques of presenting the women representation in Lanna Jataka Literary Works and 2) to analyze sexual politics in Lanna Jataka Literary Works. The concepts of representative, gender, sexual and political culture were used for analysis. The result found that the representation of women appeared in Lanna Jataka Literary Works divided into 2 groups were 1) the representative of traditional women consisting of the ideal women such as mother, wife, daughter, sister, grandmothers, general women and angel. Another one was representative of women related to feminine framework such as disadvantage, weakling, sensitiveness, men possession, dirtiness sign and sexual objects. 2) the representation of non-traditional women consisting of the undesired women such as unacceptable mother, wife, daughter and sister. The other representation was the women who broke the feminine framework such as the women leader, army leader, strong and witty leader who was independent and salacious. The techniques of presenting the women representation in Lanna Jataka Literary Works presented by words or phrases, figures of speech, Jataka composition, and motif. For words and phrase consisting of 1) the name words communicating to status, cherish, respect, birth background, and badness. 2) emotional words communicating to love, happiness, angry and fear. 3) sexual words communicating to body outfit and sexual behavior. For figures of speech, there was a comparison of women to angels, the regret of women comparing to heart breaking, the fear of women as a crazy mood and the comparison of women with beast. For the important Jataka composition, there were past time, present time, and meeting The stories of the present, The stories of the past and Conclusion. For the important motifs were character motifs nestled other traditional characters such as ghosts and animals, motifs of incidents and behaviors of characters such as a request for helper, supporter, travel and life bargaining. Women and gender politics found that Lanna Jataka Literary Works reflected the powering relationship among genders that was dynamic because no one having a permanent and entire power invariably. This result analyzed through the relationship of male and female character with dimensions of social classes, religion, politics, gender and sexuality. Although most of the relationship of women was disadvantage, women were able to utilize many strategies to use as a tool for bargaining and transferring power to her side.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมชาดกล้านนา และ 2) เพื่อวิเคราะห์การเมืองเรื่องเพศในวรรณกรรมชาดกล้านนา ผู้วิจัยเลือกใช้แนวคิดการนำเสนอภาพแทน แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ และแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองวัฒนธรรมเป็นหลักในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพแทนผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมชาดกล้านนาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ภาพแทนผู้หญิงในขนบ ได้แก่ ก) ภาพแทนผู้หญิงในอุดมคติ ประกอบด้วย แม่ ภรรยา ลูกสาว พี่สาว น้องสาว ย่า ยาย ผู้หญิงทั่วไป และเทพธิดา ข) ภาพแทนผู้หญิงที่มีลักษณะสัมพันธ์กับกรอบคิดความเป็นหญิง คือ มีความเป็นรอง เป็นสมบัติของผู้ชาย เป็นสัญญะของสิ่งสกปรก และเป็นวัตถุทางเพศ 2) ภาพแทนผู้หญิงนอกขนบ ได้แก่ ก) ภาพแทนผู้หญิงที่ไม่พึงปรารถนา ประกอบด้วย แม่นอกขนบ ภรรยานอกขนบ ลูกสาวนอกขนบ และพี่สาวนอกขนบ ข) ภาพแทนผู้หญิงที่ขัดกับกรอบคิดความเป็นหญิง ประกอบด้วย ผู้นำทางการเมืองการปกครอง ผู้นำในการทำศึกสงคราม ผู้มีความแข็งแกร่งและมีปัญญา ความอิสระ และตัณหาราคะ  กลวิธีการนำเสนอภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมชาดกล้านนา พบการนำเสนอผ่าน 1) การใช้คำหรือกลุ่มคำ ได้แก่ ก) การใช้คำเรียก พบการใช้คำเรียกที่สื่อถึงสถานภาพ สื่อถึงความน่าทะนุถนอม สื่อถึงการยกย่อง สื่อถึงชาติกำเนิด และสื่อถึงความชั่วร้าย ข) การใช้คำแสดงอารมณ์ พบการใช้คำแสดงอารมณ์รัก อารมณ์สุข อารมณ์โกรธ และอารมณ์กลัว ค) การใช้คำที่แสดงความหมายทางเพศ ได้แก่ คำแสดงรูปลักษณ์ และคำแสดงพฤติกรรมทางเพศ 2) การใช้ภาพพจน์ การเปรียบความงามของผู้หญิงกับนางฟ้านางเทวดา  การเปรียบความเสียใจของผู้หญิงกับดวงใจที่แตกสลาย การเปรียบความกลัวของผู้หญิงกับคนบ้า และการเปรียบผู้หญิงกับสัตว์เดรัจฉาน 3) องค์ประกอบสำคัญของชาดก ได้แก่ ปัจจุบันวัตถุ อดีตวัตถุ และสโมธาน และ 4) อนุภาคสำคัญ ได้แก่ อนุภาคตัวละครที่แอบอิงกับตัวละครในวิธีคิดแบบดั้งเดิมคือ ผีชนิดต่าง ๆ และสัตว์ อนุภาคเหตุการณ์และพฤติกรรมของตัวละคร ได้แก่ การร้องขอความช่วยเหลือและการร้องขอผู้พึ่งพิง การเดินทาง และการต่อรองด้วยชีวิต ประเด็นผู้หญิงกับการเมืองเรื่องเพศ พบว่า วรรณกรรมชาดกล้านนาสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศที่เป็นพลวัตไม่มีใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จและถาวรเสมอไป โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวละครหญิงชายผ่านมิติชนชั้น มิติศาสนา มิติการเมืองการปกครอง มิติเพศภาวะ และมิติเพศวิถี แม้ว่าความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เพศหญิงจะตกอยู่ในฐานะเป็นรอง แต่ตัวละครหญิงก็สามารถใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ต่อรองเพื่อถ่ายโอนอำนาจมายังฝ่ายตนได้บ้าง
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1912
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010161005.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.