Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2629
Title: The Ideology of Femininity and Language Strategies in Literature Chommanard Book Prize
อุดมการณ์ความเป็นหญิงและกลวิธีทางภาษาในวรรณกรรมรางวัลชมนาด
Authors: Julaporn Kunawattananan
จุฬาภรณ์ คุณาวัฒนนันท์
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
nilawanapa@yahoo.com
nilawanapa@yahoo.com
Keywords: อุดมการณ์ความเป็นหญิง
กลวิธีทางภาษา
วรรณกรรมรางวัลชมนาด
Ideology of femininity
Linguistic device
Chommanard Book Prize
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This present qualitative study entitled “The Ideology of Femininity and Language Strategies in Literature Chommanard Book Prize” aims to explore the ideology of femininity and linguistic devices employed in 10 selected novels of Chomanard Book Prize from 2551-2564 B.E. The analysis is based on ideological theory, femininity and linguistics strategies. The findings are: 1. In terms of femininity, eight ideologies of femininity were found including 1) femininity and social roles, 2) femininity and motherhood, 3) femininity and role of wife, 4) femininity and construction of acceptance, 5) femininity and love, 6) femininity and gratitude, 7 femininity and education, and 8) femininity and social class; 2. In terms of linguistic strategies, nine linguistics devices were found including 1) name and naming, 2) modality,  3) similes, 4) metaphor, 5) presuppositions, 6) rhetorical questions, 7) symbolism, 8) overstatement, and 9) claiming.  The presentation of the ideology was portrayed in various linguistic devices found in literary texts reflecting femininity. It is also found that ideologies have changed over time, as well as, in according to the social contexts of different periods. As a result, women’s ideas toward behavior, occupation, and gender roles have been changed and reflected in shared ideologies of femininity among women. In addition, it also reflects the common opinion or ideology of society as a whole.  Therefore, linguistic devices are significant tools in conveying the ideology of femininity through literary works.
การวิจัยเรื่อง “อุดมการณ์ความเป็นหญิงและกลวิธีทางภาษาในวรรณกรรมรางวัลชมนาด” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ความเป็นหญิงและกลวิธีทางภาษาในการนำเสนอในวรรณกรรมรางวัลชมนาด ระหว่างปี พ.ศ.2551 – 2564 จำนวน 10 เรื่อง วิเคราะห์โดยทฤษฎีอุดมการณ์ ความเป็นหญิง และกลวิธีทางภาษา ผลการศึกษาพบ 2 ประเด็น ดังนี้ 1. อุดมการณ์ความเป็นหญิง จำนวน 8 อุดมการณ์ ดังนี้ 1) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับบทบาททางสังคม 2) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับบทบาทความเป็นแม่ 3) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับบทความเป็นเมีย 4) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับการสร้างความยอมรับ 5) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับความรัก 6) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับความกตัญญู 7) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับการศึกษา 8) อุดมการณ์ความเป็นหญิงกับชนชั้น 2. กลวิธีทางภาษาในวรรณกรรมรางวัลชมนาด จำนวน 9 กลวิธี ดังนี้ 1) กลวิธีการใช้ทางศัพท์ ได้แก่ การใช้คำเรียกชื่อ และการใช้คำเรียกขาน 2) กลวิธีการใช้ทัศนภาวะ 3) กลวิธีการใช้อุปมา 4) กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ 5) กลวิธีการใช้มูลบท 6) กลวิธีการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ 7) กลวิธีการใช้สัญลักษณ์ 8) กลวิธีการกล่าวเกินจริง และ 9) กลวิธีการอ้างถึง การนำเสนออุดมการณ์พบว่ามีการนำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายในตัวบทวรรณกรรมซึ่งได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับผู้หญิง และพบการเปลี่ยนแปลงของความคิดตามช่วงเวลา และบริบททางสังคมตามยุคสมัยที่ต่างกัน ทำให้ความคิดของผู้หญิงแตกต่างกันไปทั้งด้าน พฤติกรรม อาชีพ และบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงที่สามารถสะท้อนให้เห็นความเป็นผู้หญิงที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน และสะท้อนความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ที่มีอยู่ร่วมกันของคนในสังคมได้ ดังนั้นกลวิธีทางภาษา จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการถ่ายทอดอุดมการณ์ความเป็นหญิงที่สื่อผ่านงานวรรณกรรม
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2629
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010180002.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.