Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2860
Title: The Guidelines for the Effective Curriculum Administration Under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1
แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Authors: Chanikan Tumtuma
ชนิกานต์ ทุมทุมา
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
Mahasarakham University
Pacharawit Chansirisira
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
wittaya.c@msu.ac.th
wittaya.c@msu.ac.th
Keywords: แนวทาง
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ประสิทธิผล
guidelines
curriculum administration
effectiveness
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was aimed 1) to study a current condition, a desirable condition, and the need for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 and 2) to develop the guidelines for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1. For the method of the study, mixed methods research was performed in 2 phases as follows. Phase 1: The current condition, the desirable condition, and the need for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 were studied. The sample group consisted of 202 people, using the Krejcie and Morgan to determine the size and chosen by stratified random sampling. The research tools were a questionnaire. The statistics used in data analysis were index of index of item objective congruence, index of discrimination, reliability, percentage, mean, standard deviation, and PNI modified. Phase 2: The development of the guidelines for the effective curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 was studied by interviewing 3 best-practice schools chosen by purposive sampling. The research tools were the structured interview form, and suitability and feasibility evaluation scale which were evaluated by 7 specialists. The statistics used in the quantitative data analysis were percentage, mean and standard deviation. The results were as follows:                1. The current condition for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 was overall at high level. The desirable condition for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 was overall at utmost level. The needs for the curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 ordered in descending, namely, school curriculum creation, preparation, curriculum used conduction and supervision and assessment.                2. The guidelines for the effective curriculum administration under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 consisted of 4 aspects and 33 guidelines, namely, school curriculum preparation 10 guidelines, curriculum creation 8 guidelines, curriculum used creation 6 guidelines, supervision and assessment 9 guidelines. The guidelines were determined by studying the regulations of effective curriculum administration from 3 best-practice schools and using PDCA cycle in order to benefit the schools under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 in moving forward effective curriculum administration.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 202 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และใช้เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง ซึ่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า                1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 โดยเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการดำเนินการใช้หลักสูตร และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ตามลำดับ                2. ผลการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 มีองค์ประกอบ 4 ด้าน 33 แนวทาง ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อม จำนวน 10 แนวทาง ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 8 แนวทาง ด้านการดำเนินการใช้หลักสูตร จำนวน 6 แนวทาง และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล จำนวน 9 แนวทาง ใช้แนวคิดที่การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลจากการศึกษาสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และหลักการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 นำไปวางแผนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิผลต่อไป
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/2860
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65010581016.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.