Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/382
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Thitima Dornsomjit | en |
dc.contributor | ธิติมา ดอนสมจิตร | th |
dc.contributor.advisor | Nittaya Wannakit | en |
dc.contributor.advisor | นิตยา วรรณกิตร์ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2019-11-19T07:39:38Z | - |
dc.date.available | 2019-11-19T07:39:38Z | - |
dc.date.issued | 30/7/2019 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/382 | - |
dc.description | Master of Arts (M.A.) | en |
dc.description | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | This thesis has the objectives to study the creation of the mistress characters and the representatives of these mistresses in the contemporary Thai novels and the construction of meaning in society of these mistresses in 11 stories as follow: Doksomsithong, Dtamlompliw, Praisanithamlon, Juddabnaiduangdtawan, Roywari, Plengbaimai, Waenprachan, Mayachimplee, Wimanplueng, Babrakdtaingaoboon,and Maidoknegngiew by using the qualitative method within the framework of the representation and the construction of meanings in society. The result of the study found that these 11 contemporary Thai novels present the background of these characters who grew up in a broken home which often seemed that they lacked a good childhood. Their behaviors were viewed as against the norms and often come from the lack of wealth and luxurious lives. Many of the previously mentioned reasons convinced a certain number of women to become mistresses to wealthy men who could shift their social status. Suddenly, these women had a job and also a sort of choice in choosing their lovers. Most of the mistresses had a freelance job which gave them the freedom of work schedule to find time for their secret lovers. The characteristics of these mistress characters are often seen as someone who is seductive and attractive to older men. The mistresses and their choice of clothes and job seduce men. They are confident and know how to maintain their beauty. In terms of behaviors, they are often seen as someone who is kind, but they had to accept their status and become someone mischievous because of their role in one’s marriage. The representation of these mistresses are often seen in novels. They are not accepted as wives and they are shamed by society for relying on someone else’s husbands to gain their wealth. They are seen as sex objects and lack of value. The construction of meanings in society of these characters in contemporary Thai novels was found to influence the construction of society and how it values men over women. The reflection shows the differences in being women and men in a Buddhist society. The third rule of being a good Buddhist which prohibits cheating makes mistresses become someone who destroys the union of family and the meaning of these women is as someone who acts against the social norms and values. | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีการสร้างตัวละครเมียน้อยและภาพแทนเมียน้อยในนวนิยายไทยร่วมสมัยและการประกอบสร้างความหมายทางสังคมของตัวละครเมียน้อยในนวนิยายไทยร่วมสมัย จำนวน 11 เรื่อง ดังนี้ 1) ดอกส้มสีทอง 2) ตามลมปลิว 3) ไปรษณีย์ทำหล่น 4) จุดดับในดวงตะวัน 5) รอยวารี 6) เพลงใบไม้ 7) แหวนพระจันทร์ 8) มายาฉิมพลี 9) วิมานเพลิง 10) บาปรักใต้เงาบุญ และ 11) ม่านดอกงิ้ว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาภาพแทนและการประกอบสร้างความหมายทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายไทยร่วมสมัยทั้ง 11 เรื่อง ได้นำเสนอให้เห็นว่าภูมิหลังของตัวละครส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมาจากครอบครัวที่ขาดความรักความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่ทำให้ตัวละครมีพฤติกรรมที่ขัดกับบรรทัดฐานทางสังคม จากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ต้องการหลีกหนีจากความยากจน ต้องการยกระดับฐานะทางสังคม มีชีวิตที่สะดวกสบายหรูหรา จึงเลือกเป็นเมียน้อยผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังพบว่าระดับการศึกษาช่วยยกสถานะทางสังคมแก่ตัวละครเมียน้อยในการเลือกคู่ครองหรือหน้าที่การงานที่ดี ตัวละครเมียน้อยส่วนใหญ่มีอาชีพอิสระ ปัจจัยด้านเวลามีส่วนเอื้อต่อการลักลอบคบหากันกับชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว ด้านบุคลิกภาพพบว่าตัวละครเมียน้อยทั้งหมดจะเป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์เย้ายวนใจ ส่วนใหญ่มีอายุประมาณยี่สิบถึงสามสิบปี การแต่งกายของตัวละครสัมพันธ์กับหน้าที่การงาน มีลักษณะเย้ายวนดึงดูดใจชายด้วยเสื้อผ้าเครื่องประดับตามสมัยนิยม มีความปราดเปรียวมั่นใจในตนเองและรู้จักดูแลเสริมแต่งตนเองให้ดูดีอยู่ตลอดเวลา ด้านลักษณะนิสัยพบว่ามีทั้งตัวละครเมียน้อยที่มีพื้นฐานจิตใจดี ซึ่งเป็นลักษณะของผู้หญิงที่ต้องจำยอมต่อสถานภาพของตนเอง ส่วนตัวละครเมียน้อยฝ่ายร้าย คือตัวละครเมียน้อยที่มีนิสัยหรือพฤติกรรมที่ขัดกับบรรทัดฐานหรือค่านิยมกระแสหลักในสังคม ภาพแทนของเมียน้อยที่ปรากฏในนวนิยายไทยร่วมสมัย เป็นลักษณะของภรรยาที่ไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ขัดกับบรรทัดฐานหลักของสังคม เมียน้อยมักถูกสังคมมองว่าเป็นผู้หญิงที่ต้องพึ่งพาผู้ชาย อยากรวยทางลัด ตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา นอกจากนี้ยังพบว่า เมียน้อยเป็นภาพแทนของผู้หญิงที่เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งเป็นการนำเสนอภาพตัวละครในลักษณะที่ต่ำต้อยด้อยคุณค่า การประกอบสร้างความหมายทางสังคมต่อตัวละครเมียน้อยในนวนิยายไทยร่วมสมัย พบว่าได้รับอิทธิพลจากระบบโครงสร้างทางสังคมที่ให้คุณค่าแก่ชายมากกว่าหญิง ที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและชาย สังคมชาวพุทธที่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมและหลักศีลธรรมโดยเฉพาะศีลข้อ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องของการไม่ประพฤติผิดในกาม ค่านิยมแบบครอบครัวอุดมคติที่มองว่าเมียน้อยเป็นผู้หญิงที่สร้างความแตกแยกให้ครอบครัวคนอื่น ซึ่งเป็นการประกอบสร้างความหมายที่มองว่าเมียน้อยเป็นผู้หญิงที่มีพฤติกรรมขัดกับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคมกระแสหลัก | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ตัวละครเมียน้อย | th |
dc.subject | ภาพแทน | th |
dc.subject | นวนิยายไทยร่วมสมัย | th |
dc.subject | Mistress characters | en |
dc.subject | Representatives | en |
dc.subject | Contemporary Thai Novels | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | Mistress in contemporary Thai novels : Representation and Social Construction of meanings | en |
dc.title | ตัวละครเมียน้อยในนวนิยายไทยร่วมสมัย : ภาพแทนและการประกอบสร้างความหมายทางสังคม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57010180005.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.