Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/383
Title: Thaosithon-Manora : Isan Folk Jataka and Constructing The Socail Space of Mekong Basin Community
ท้าวสีทน-มโนราห์ : ชาดกพื้นบ้านอีสานกับการสร้างพื้นที่ทางสังคมในชุมชนลุ่มน้ำโขง
Authors: Pranita Chantharapraphan
ประณิตา จันทรประพันธ์
Jaruwan Thammawatra
จารุวรรณ ธรรมวัตร
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ชาดกพื้นบ้าน
ท้าวสีทน-มโนราห์
พื้นที่ทางสังคม
ชุมชนลุ่มน้ำโขง
Folk Jataka
Thaosithon-Manora
Social Space
Mekong Basin Community
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis is aimed to study the content and roles of Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora that was evident in the perception of the people in Mekong basin community Pak Khat District, Bueng Kan Province and Rattanawapi District, Nong Khai as this folk Jataka influenced to the thought and belief of people people in Mekong basin community which caused to the production of social space                The scope of the data that was studied and analyzed are the information about Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora in the oral history culture as well as the oral history information from the interview by the researcher and the oral history that was already collected including the space information which based on the field data. The areas of study were Mekong basin community in Pak Khat District, Bueng Kan Province and Rattanawapi District, Nong Khai and the nearby areas that were evidently percept about the of Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora. Social Space theory of Henry Lefebvre was used as a main framework of this research. The findings found that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora that was evident in the perception of the people in Mekong basin community Pak Khat District, Bueng Kan Province and Rattanawapi District, Nong Khai consisted of many kinds of cultural perception which are the relative elements that related amongst space and folk Jataka such as the perception through oral history culture, performance culture, art culture, belief and ceremony culture and the areas. In the aspect of contents analyzation found that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora of the people in Mekong basin was influenced by the Suthon jataka in Panya Jataka. However, the Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora has specific character as a local or region folktale according to the plotting of the Jataka story with the social space context and the culture dimension. This Isan folk Jataka described the areas by using Thaosithon and Manora as the main actors and exemplified various situations to describe that which situation happened with which area, and the content was continually narrated according to the story’s plot by using the problems and the conflict from the actors’ behavior.       Production of social space aspect found that there are three categories of the role that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora was functioned to the production of social space in Mekong basin community as follows; 1) the role toward the production of physical space showed that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora was functioned to the physical space in the aspect of name that related to the Jataka story such as the name of the villages, places and holly things, 2) the role of production of spirit space showed that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora has a role as the production of spirit space through the traditional paradigm, the production of spirit space through the Buddhism Paradigm and the mix-method between traditional and Buddhism paradigm, 3) The role toward the production of social space found that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora functioned to the production of social space such as production of social space in tourism aspect. From these three aspects reflected that Isan folk Jataka entitle Thaosithon-Manora was influenced toward the way of life of the people in Mekong basin.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและบทบาทของชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ ที่ปรากฎอยู่ในการรับรู้ของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ในฐานะที่ชาดกเรื่องดังกล่าวมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขง ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคม ขอบเขตข้อมูลที่นำมาศึกษาวิเคราะห์เป็นหลักได้แก่ ข้อมูลชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ในประเพณีมุขปาฐะ ทั้งข้อมูลมุขปาฐะจากการสัมภาษณ์ภาคสนามโดยผู้วิจัยและข้อมูลมุขปาฐะที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว รวมถึงข้อมูลด้านพื้นที่ก็คือศึกษาโดยยึดตามการเก็บข้อมูลภาคสนาม คือพื้นที่ชุมชุมลุ่มน้ำโขงอำเภอปากคาดจังหวัดบึงกาฬและอำเภอรัตนวาปีจังหวัดหนองคาย รวมไปถึงอาณาบริเวณใกล้เคียงที่ปรากฏว่ามีการรับรู้ชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องพื้นที่ทางสังคม (Social Space) ของ อองรี เลอแฟบร์ (Henry Lefebvre) มาเป็นกรอบหลักในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ที่ปรากฎอยู่ในการรับรู้ของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ และอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย มีวัฒนธรรมการรับรู้ประเภทต่าง ๆ อันเป็นองค์ประกอบที่เชื่อมโยงกับความพันธ์ระหว่างพื้นที่กับเรื่องราวในชาดก ได้แก่ การรับรู้ผ่านวัฒนธรรมมุขปาฐะ การรับรู้ผ่านวัฒนธรรมการแสดง การรับรู้ผ่านวัฒนธรรมศิลปะ การรับรู้ผ่านวัฒนธรรมความเชื่อพิธีกรรม และการรับรู้ผ่านภูมินามสถานที่ การวิเคราะห์ลักษณะด้านเนื้อหา พบว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขง มีเนื้อหาที่ได้รับอิทธิพลมาจากสุธนชาดกในปัญญาสชาดก แต่ด้วยการนำเรื่องราวในชาดกเข้ามาผูกเรื่องให้เข้ากับบริบททางสังคมของพื้นที่และมิติทางวัฒนธรรม จึงทำให้ชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขงมีลักษณะเฉพาะแบบท้องถิ่นหรือเป็นนิทานประจำถิ่น เนื่องจากได้อธิบายถึงภูมินามสถานที่ โดยให้ตัวเอกของเรื่องคือท้าวสีทน และนางมโนราห์เป็นตัวดำเนินเรื่อง พร้อมยกเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายว่าสถานที่ใดบ้างที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ใด มีการดำเนินเรื่องตามองค์ประกอบโครงสร้างของโครงเรื่อง โดยมีปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวละครที่มีความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้านบทบาทการสร้างพื้นที่ทางสังคม จากการศึกษาพบว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ มีบทบาทต่อการสร้างพื้นที่ทางสังคมในชุมชนลุ่มน้ำโขง อยู่ 3 ลักษณะ คือ 1)บทบาทต่อการสร้างพื้นที่ทางกายภาพ พบว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์มีบทบาทต่อพื้นที่ทางกายภาพด้านการตั้งชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องราวในชาดก ได้แก่ การตั้งชื่อหมู่บ้าน การตั้งชื่อสถานที่สำคัญ และการตั้งชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2)บทบาทต่อการสร้างพื้นที่ทางจิตวิญญาณ พบว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์มีบทบาทต่อการสร้างพื้นที่ทางจิตวิญญาณ คือ การสร้างพื้นที่ทางจิตวิญญาณผ่านความเชื่อดั้งเดิม การสร้างพื้นที่ทางจิตวิญญาณผ่านความเชื่อพุทธศาสนา และการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับความเชื่อพุทธศาสนา 3)บทบาทต่อสร้างพื้นที่ทางสังคม พบว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์มีบทบาทต่อการสร้างพื้นที่ทางสังคมคือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งบทบาททั้ง 3 ลักษณะสะท้อนให้เห็นว่าชาดกพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวสีทน-มโนราห์ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวชุมชนลุ่มน้ำโขง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/383
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180007.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.