Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/581
Title: Lai Pin lsan : Compositional Technique and Performance Styles of Thongsai Tuptanon and Boomma Kaowong
ลายพิณอีสาน : กลวิธีการเรียบเรียงและการบรรเลงของนายทองใส ทับถนน และนายบุญมา เขาวง
Authors: Apiruk Phoosanga
อภิรักษ์   ภูสง่า
Narongruch Woramitmaitree
ณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: ลายพิณอีสาน
นายทองใส ทับถนน
นายบุญมา เขาวง
กลวิธีการเรียบเรียงพิณ
การบรรเลงพิณ
Lai Pin lsan
THONGSAI TUPTANON
BOOMMA KAOWONG
Compositional Technique
Performance Styles
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The study of  Lai Pin Isan : Compositional Technique and Performance Styles of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong. It is a qualitative research aims to study the history and work of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong.  Study the  compositional technique Lai Pin Isan of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong. Study the performance styles Lai Pin Isan of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong. The results of the study were as follows 1) The look of Pin Isan of  Thongsai Tuptanon have  2 lines. Pin Isan is made from tamarind wood and part skull and neck is the same piece. Top of the neck harp made a head of Kanok pattern. There is a contact or receiver attached to the skull and sound  stage have 11 sound. Harp strings are made from military telephone line. Pic-harp is made from animals as cow horn, buffalo horn by making a long triangle. The look of Pin Isan  of  Boonma Kaowong have  3 lines. Pin Isan is made from core of cane or takhian wood and part skull and neck is the same piece. There is a contact or receiver attached to the skull and sound  stage have 9 sound. Harp strings are made from bicycle brake wire. Pic-harp is made from plastic as bottle, 2T oil bottle by making was triangle or use guitar pick. 2) The  compositional technique Lai Pin Isan of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong. The study show that Lay Teay ,Lay Lam Ploen,Lay Soy have compositional technique main melody And melody development is their own identity can be used appropriately and interestingly.3) The  performance styles Lai Pin Isan of Thongsai Tuptanon and Boonma Kaowong. The study show that Lay Teay ,Lay Lam Ploen,Lay Soy there are Setting the Sai Phin is Dual 5 Perfect  have scale La and scale Me but can play scale A Minor, D Minor, G Major and have moved intervals to get the sound as you want. Using techniques  play are Didlong, Didslupkinlong, Diddon ,Didkoup, Didlaul, Didsabut ,Didjuk, Didyungsay, and Pomnual up and down regularly according to the rhythm of the song. Flip down regularly according to the rhythm of the song all the songs until the end of the song.
การศึกษา เรื่อง “ลายพิณอีสาน : กลวิธีการเรียบเรียงและการบรรเลงของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติและผลงานของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง 2) ศึกษากลวิธีการเรียบเรียงลายพิณอีสานของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง 3) ศึกษากลวิธีการบรรเลงลายพิณอีสานของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะพิณอีสานของนายทองใส ทับถนน เป็นพิณ 2 สาย พิณทำจากแก่นไม้มะขามส่วนกะโหลกและคอนั้นเป็นชิ้นเดียวกัน ด้านบนของคอพิณทำเป็นหัวรูปลายกนก มีคอนแท็คหรือตัวรับเสียงติดอยู่ที่กะโหลก และมีขั้นเสียงทั้งหมด 11 ขั้น สายพิณทำมาจากสายโทรศัพท์ของทหาร ปิ๊กพิณทำจากเขาสัตว์ เช่น เขาวัว เขาควาย โดยทำเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวๆ ลักษณะพิณอีสานของนายบุญมา เขาวง เป็นพิณ 3 สาย พิณทำจากแก่นไม้แคนหรือไม้ตะเคียนและกะโหลกและคอนั้นเป็นชิ้นเดียวกัน คอนแท็คหรือตัวรับเสียงติดอยู่ที่กะโหลก มีขั้นเสียงทั้งหมด 9 ขั้น สายพิณทำมาจากลวดเบรกรถจักรยาน ปิ๊กพิณทำจากพลาสติก เช่น ขวดน้ำ ขวดน้ำมัน 2T โดยทำเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือใช้ปิ๊กกีต้าร์ 2) กลวิธีการเรียบเรียงลายพิณอีสานของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง ผลการศึกษาพบว่า ลายเต้ย ลายลำเพลิน ลายสร้อย มีการเรียบเรียงทำนองหลักและการพัฒนาทำนอง เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มาใช้ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ 3) กลวิธีการบรรเลงลายพิณอีสานของนายทองใส ทับถนนและนายบุญมา เขาวง พบว่า ลายเต้ย ลายลำเพลิน ลายสร้อย มีการตั้งสายพิณเป็น คู่ 5 เพอร์เฟค เสียง ลา(A) กับ มี(E) แต่สามารถเล่นได้ทั้งบันไดเสียง A ไมเนอร์, D ไมเนอร์, G เมเจอร์ และมีการย้ายขั้นคู่เสียงเพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการ มีการใช้เทคนิคการบรรเลง คือ ดีดลง ดีดสลับขึ้นลง ดีดด้น ดีดควบ  ดีดเล๋ว ดีดสะบัด ดีดกรอ ดีดจก ดีดยั้งสาย และพรมนิ้วขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอตามจังหวะของเพลง ดีดลงอย่างสม่ำเสมอตามจังหวะของเพลงจนจบเพลง
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/581
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58012080007.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.