Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/59
Title: Natures in Isan Folk Tales : Construction of Ecological Landscape and Interpretation
ธรรมชาติในวรรณกรรมนิทานอีสาน : การสร้างภูมินิเวศและการสื่อความหมาย
Authors: Khomkrit Woradejnaiyana
คมกฤษณ์ วรเดชนัยนา
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ธรรมชาติ
ภูมินิเวศ
การสื่อความหมาย
วรรณกรรมนิทานอีสาน
Nature
Ecological Landscape
Interpretation
Isan Folk Tales
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The natural research in Isan's Folk Tales : Construction of Ecological Landscape and creates an eco-definition of social and cultural meanings. This research uses the methodology of the research of literary literature using the information of Isan Folk Tales. All 29 aspects of the presentation. The results of the findings showed that nature was a picture instead of four ecological ecosystems, namely 1) pictures representing nature with physical ecological creation. Found content on the creation of physical ecosystems: high area. Flat area on the Waterfront area 2) The picture represents nature with spiritual ecological creation. Find out about creating a vary of spiritual ecology, including traditional beliefs. Buddhism and Hinduism 3) pictures of nature, with the creation of social ecological cultures. Discover the content of cultural ecosystems: a living way. Traditions, rituals, and architecture. For the nature which is the sign of the social and cultural notation, it is 1) nature with a layer of meaning. The economic class between the Kradumphi class and the proletariat layer and the social layers between females and male and ethnic women. 2) Nature with sexual intercourse conditions include; Childhood status Young age and senior age 3) Nature and religious means a religion is believed to be a Buddhist. 4) The nature and the meaning of the type of the condition consists of females and male 5) Nature with ethnic means of Lao – Thai ethnic and Khmer 6) Nature with political meaning. State-of-the---new state From research, it is an overview of the nature and the creation of an Eco reflecting the belief between humans and humans. Human with nature and human beings with supernatural powers under the natural environment. For nature with the meaning that nature is the key element reflects the social and cultural dimension, which is a paradigm that hides the nature's way of thinking.
การวิจัยเรื่อง ธรรมชาติในวรรณกรรมนิทานอีสาน : การสร้างภูมินิเวศกับการสื่อความหมาย มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาธรรมชาติกับการสร้างภูมินิเวศและธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางสังคมและวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยภูมิวัฒนธรรมและนิเวศวัฒนธรรม โดยใช้ข้อมูลวรรณกรรมนิทานอีสานประเภทลายลักษณ์ ทั้งหมด 29 เรื่อง การนำเสนอข้อมูลใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ธรรมชาติกับการสร้างภูมินิเวศ 3 พื้นที่ คือ 1) ธรรมชาติกับการสร้างภูนิเวศเชิงในพื้นที่สูง  2) ธรรมชาติกับการสร้างภูมินิเวศในพื้นที่ราบ และ 3) ธรรมชาติกับการสร้างภูมินิเวศในพื้นที่แหล่งน้ำ ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่พบว่ามีเนื้อหาที่สัมพันธ์กันทั้งในเชิงกายภาพ เชิงจิตวิญญาณ และเชิงสังคมวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นการจัดวางและการปรับตัวของมนุษย์เพื่อให้เข้ากับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตามแต่ละพื้นที่ สำหรับธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางสังคมนั้น 6 ด้าน คือ 1) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางชนชั้น ประกอบด้วย ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง  2) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางสถานภาพ ประกอบด้วย สถานภานภาพของวัยเยาว์-วัยหนุ่มสาว และสถานภาพวัยอาวุโส 3) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางศาสนา ประกอบด้วย ความเชื่อดั้งกับพุทธศาสนา 4) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางเพศสภาวะ ประกอบด้วย เพศหญิงกับเพศชาย 5) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ชาติพันธุ์ลาว-ไทยและขอม 6) ธรรมชาติกับการสื่อความหมายทางการเมือง ประกอบด้วย รัฐแบบจารีตกับรัฐแบบใหม่ จากการวิจัยสรุปได้ว่า ธรรมชาติกับการสร้างภูมินิเวศ สะท้อนให้เห็นถึงการจัดวางและการปรับตัวของมนุษย์ เพื่อให้เข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันสะท้อนให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ สำหรับธรรมชาติกับการสื่อความหมายนั้น สื่อให้เห็นว่า ธรรมชาติเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สะท้อนให้เห็นมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ซ่อนวิธีคิดต่อธรรมชาติไว้อย่างลึกซึ้ง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/59
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010161501.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.