Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/610
Title: Language  Practices  and  Representation of Social  Ideologies   in  the Modern Lao Magazines
ปฏิบัติการทางภาษากับการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในนิตยสารลาวสมัยใหม่
Authors: Sutthiluck Sawanyavisuthi
สุทธิลักษณ์  สวรรยาวิสุทธิ์
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ปฏิบัติการทางภาษา
อุดมการณ์ทางสังคม
นิตยสารลาวสมัยใหม่
Language Practice
Social Ideology
Modern Lao Magazines
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This dissertation was conducted with 2 main objectives; 1) to study the language practice in modern Laos magazines based on guidelines of critical analysis discourse, and 2) to examine the presentation of social ideology in modern Lao magazines. The target of the study covered a total of 144 copies of 3 best-selling magazines sold in Lao PDR between January 2015 and December 2016. The concept in conducting this study was the critical discourse analysis. It was found that the language practice in presenting the modern Lao magazines to the audience by means of the language strategies included word selection, rhetorical devices, and speech acts to show the discursive practice. The analysis covered the content and meanings that appeared in social dimensions in the modern Laos magazines, including texts, written language, dialogues, interviews, and advertisements. Sociocultural practice connoted in form of language to present social ideology was also analyzed. The result of the study of characteristics and development of Lao magazines revealed that Lao magazines could be classified according to their content into 3 groups; concepts and characteristics of magazines, development of magazines in the Lao society, and modern Lao magazines. Lao magazines showed their important role in presenting news to the public. They were also a powerful tool to reinforce certain ideology and beliefs to exist. The media played a huge role in the perception and understanding of the world of the Lao society. The media is, therefore, can help us make it easier to build the real world. The result of the study of the language practice and discourses in modern Lao magazines showed that the presentation in form of language patterns ​​or words in the content of modern Lao magazine conveyed meanings and created thoughts and beliefs in the discourses themselves. The sender may choose some language strategies through various elements. In modern Lao magazines, the most common language strategies chosen to convey thoughts and beliefs in discourses are 1) word selection, 2) rhetorical devices, and 3) speech acts. The result of the study of the sociocultural practice in modern Lao magazines revealed that discourses concerned the society and presented environmental or social and cultural factors through language patterns.  These discourses affected the consistency between text creation and the sociocultural practice. They resulted in 2 relationships; 1) the sociocultural practice and the presentation of sets of ideas in modern Lao magazines, and 2) the influence of social factors on modern Lao magazines.    The result of the study of the presentation of social ideology in modern Lao magazines unveiled 3 issues of texts which affected the presentation of social ideology itself.  The 3 issues presented in modern Lao magazines included 1) sociocultural ideology, 2) political ideology, and 3) economic ideology. This dissertation discloses the role of the magazine in emphasizing and reproducing social ideology. This is due to the fact that the magazine is a branch of the media and a social institution that has a comprehensive role in controlling thoughts of members in a society and gets accessible to all ages. It can be said that ideology remains as a form of belief or attitude in a society because it is created under the power of the media. As a result, media consumers who are members of a society believe in the content the media offers without dispute.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการทางภาษาในนิตยสารลาวสมัยใหม่ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์  และ 2) เพื่อศึกษาการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในนิตยสารลาวสมัยใหม่ จากนิตยสารที่มียอดการจำหน่ายสูงที่สุดใน สปป.ลาว จำนวน 3 ฉบับ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559 รวมทั้งสิ้น 144 เล่ม โดยใช้แนวคิดหลัก คือ แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) พบว่า ปฏิบัติการทางภาษาในการนำเสนอนิตยสารลาวสมัยใหม่ ในด้านกลวิธีทางภาษา ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์  กลวิธีทางวาทศิลป์ และการใช้วัจนกรรมเพื่อให้เห็นถึงภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และวิเคราะห์เนื้อหาและความหมายที่ปรากฏในมิติทางสังคม จากนิตยสารลาวสมัยใหม่ ได้แก่ ตัวบท ภาษาเขียน บทสนทนา บทสัมภาษณ์ โฆษณา และวิเคราะห์นิตยสารลาวสมัยใหม่ด้านวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ภายใต้รูปของภาษาเพื่อให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางสังคม ผลการศึกษาลักษณะของนิตยสารและพัฒนาการของนิตยสารลาวพบว่า ลักษณะของนิตยสารและพัฒนาการของนิตยสารลาว จำแนกตามเนื้อหาที่ปรากฏ ได้ 3 กลุ่ม คือ แนวคิดและลักษณะของนิตยสาร พัฒนาการของนิตยสารในสังคมลาว และนิตยสารลาวสมัยใหม่ นิตยสารลาวสื่อให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญเพราะทำหน้าที่นำเสนอข่าวสารต่อมวลชน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตอกย้ำอุดมการณ์ความเชื่อบางอย่างให้ดำรงอยู่ สื่อมวลชนมีบทบาทมากต่อการรับรู้และเข้าใจโลกของคนในสังคม สื่อมวลชนจึงมีส่วนสำคัญช่วยให้เราสร้างโลกแห่งความเป็นจริงได้ง่ายยิ่งขึ้น ผลการศึกษาปฏิบัติการทางภาษาและวาทกรรมในนิตยสารลาวสมัยใหม่พบว่า การนำเสนอในรูปแบบของรูปภาษาหรือถ้อยคำต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของนิตยสารลาวสมัยใหม่ เพื่อสื่อความหมายและประกอบสร้างความคิดความเชื่อในวาทกรรม โดยผู้ส่งสารนั้นอาจเลือกใช้กลวิธีทางภาษาผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งในนิตยสารลาวสมัยใหม่พบว่ากลวิธีทางภาษาที่ผู้ส่งสารเลือกใช้ในการสื่อความคิดความเชื่อในวาทกรรมปรากฏได้ 3 ลักษณะ คือ 1) การเลือกใช้คำศัพท์ 2) กลวิธีทางวาทศิลป์ และ 3) การใช้วัจนกรรม ผลการศึกษาปฏิบัติการทางสังคมในนิตยสารลาวสมัยใหม่พบว่า ระเบียบวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมหรือบริบททางสังคมและวัฒนธรรมผ่านรูปภาษาว่ามีผลต่อความสอดคล้องกันระหว่างการสร้างตัวบท และปฏิบัติการทางสังคม 2 ลักษณะ คือ 1) ปฏิบัติการทางสังคมกับการนำเสนอชุดความคิดในนิตยสารลาวสมัยใหม่ และ 2) อิทธิพลของปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อนิตยสารลาวสมัยใหม่ ผลการศึกษาการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในนิตยสารลาวสมัยใหม่พบว่า ตัวบทที่นำมาศึกษาเพื่อสนับสนุนความคิดด้านต่าง ๆ โดยสามารถจำแนกเป็นประเด็นต่าง ๆ ที่มีผลต่อการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) อุดมการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในนิตยสารลาวสมัยใหม่ 2) อุดมการณ์ทางการเมืองในนิตยสารลาวสมัยใหม่ และ 3) อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจในนิตยสารลาวสมัยใหม่ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของนิตยสารในการตอกย้ำผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางสังคมเนื่องจากนิตยสารเป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่งและเป็นสถาบันทางสังคมที่มีบทบาทในการควบคุมความคิดของสมาชิกในสังคมได้ครอบคลุมและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย อาจกล่าวได้ว่าการที่อุดมการณ์ยังคงอยู่ในฐานะรูปแบบของความเชื่อหรือทัศนคติหนึ่งทางสังคมนั้น  เนื่องจากถูกประกอบสร้างภายใต้อำนาจของสื่อมวลชนที่ส่งผลให้ผู้บริโภคสื่อซึ่งก็เป็นสมาชิกในสังคมเชื่อในสิ่งที่สื่อนำเสนอโดยไม่มีข้อโต้แย้ง 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/610
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010161005.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.