Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/62
Title: The Representation Prawor Prata  Narrative of Mekong Basin
ภาพแทนพระวอพระตาในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขง
Authors: Attapol Thammarungsee
อรรถพล ธรรมรังษี
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภาพแทน
พระวอพระตา
เรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขง
representations
Pra Wo-Pra Ta
Narrative of Mekong basin
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Pra Wo-Pra Ta is considered as a person who takes important role in population movement between MeKhong River borders in the reign of Phrachao Siribounyasan of Vientiane. As there is a quote referred to Pra Wo-Pra Ta that “Since the period of Pra Wo-Pra Ta” (ตั้งแต่ปางพระวอพระตาพุ้น) which shows people recognition and proves of existence in memories of people living between Mekhong River borders. This research aims to study the representations of Pra Wo-Pra Ta in local narratives of MeKhong River and to study the presentation techniques of Pra Wo-Pra Ta representations. There are 3 local narratives both from Thailand and Lao used in this research which are; History of Nong Bua Lam Phu, History of Ubon Ratchathani, Pra Wo-Pra Ta in Palm Leaves manuscripts. This research is conducted to study from documents to be analyzed using Representation as a main concept and Narrative theory as a secondary concept.  The study shows that in the 3 narratives, there are 2 types of Pra Wo-Pra Ta representations which are Hero representation and Rebel representation. The hero representation is presented as a hero who is a leader which reflects Thai’s people perspectives that Pra Wo-Pra Ta is a hero of Ubon Ratchatani and Lao’s people perspectives that Pra Wo-Pra Ta is a hero of Ban Du and Ban Kae without any connections to Ubon Ratchatani establishment. As for rebel representations, it is presented as an objector, a displaced person, and a defeated person. The 3 types of rebels are found in Thai’s local narratives. However, there is no defeated person representation shown in Lao’s local narratives because they don’t want to mention how Pra Wo-Pra Ta becomes an Ubon Ratchathani’s Hero so that the defeated person representation is not mentioned and presented. In addition, creation conflict technique is used to introduce story theme, perspectives of narrations, calling words for Pra Wo-Pra ta, and story introduction. Moreover, there are event presentation methods which consist of 4 events. Events that create a presentation of a hero are event of an act of leader, planning event, fighting event, war triumph even. Events that portray an image of a rebellion are 3 main events which are an event of objection, migration event, a defeat of a war. These 2 types of events are gone through a process of interpretation by an author. It creates a meaning of Pra Wo-Pra Ta through a presentation of an event. Additionally, the study of the presentation of Pra Wo-Pra Ta in folk stories from 2 sides of Mekhong River creates an understanding of roles of folk stories on a reflection of a presentation from Lao and Thai perspectives. Moreover, the folk stories can also reflect a process of a meaning creation of Pra Wo-Pra Ta in an aspect of a hero and a rebel from the perspectives of Thai and Lao people which lead to a creation of public consciousness of the two groups.
พระวอพระตาถือได้ว่าเป็นที่รับรู้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้คนบริเวณสองฝั่งลุ่มน้ำโขงในช่วงการปกครองของพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ กระทั่งอยู่ในความทรงจำของผู้คนจนมีคำที่กล่าวถึงพระวอพระตาว่า “ตั้งแต่ปางพระวอพระตาพุ้น” อันแสดงถึงการรับรู้และเป็นหลักฐานที่ยืนยันการมีตัวตนในความทรงจำของผู้คนสองฝั่งโขง  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาพแทนพระวอพระตาในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขงและเพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอภาพแทนพระวอพระตาในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขง อันประกอบด้วย เรื่องเล่าพื้นเมืองทั้งของไทยและลาวรวม 3 ฉบับ ได้แก่ เรื่องพื้นเมืองอุบลประวัติเมืองหนองบัวลำภู เรื่องประวัติเมืองอุบลราชธานี เรื่องพระวอพระตาในเอกสารในลาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากเอกสารแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แนวคิดหลักคือ แนวคิดเรื่องภาพแทน (Representation) และแนวคิดรองคือ แนวคิดการเล่าเรื่อง (Narrative theory) จากการศึกษาพบว่าในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขง ทั้ง 3 ฉบับ ปรากฏภาพแทนพระวอพระตาสองลักษณะคือ ภาพแทนวีรบุรุษและภาพแทนกบฏ โดยภาพแทนวีรบุรุษถูกนำเสนอผ่าน ภาพวีรบุรุษผู้เป็นผู้นำ ซึ่งภาพแทนวีรบุรุษสะท้อนให้เห็นมุมมองของคนไทยที่มองว่า พระวอพระตาเป็นวีรบุรุษของเมืองอุบลราชธานี และมุมมองของคนลาวที่มองว่าพระวอพระตาเป็นวีรบุรุษของบ้านดู่บ้านแกโดยไม่มีการเล่าเชื่อมโยงถึงการก่อร่างสร้างเมืองอุบลราชธานี ส่วนภาพแทนกบฏถูกนำเสนอผ่าน ภาพผู้คัดค้านทรยศ ภาพผู้พลัดถิ่น ภาพผู้พ่ายแพ้ ซึ่งพบว่าในเรื่องเล่าพื้นเมืองของไทยกล่าวถึงภาพแทนกบฏทั้ง 3 ลักษณะ ส่วนเรื่องเล่าของลาวไม่ปรากฏการกล่าวถึงภาพผู้พ่ายแพ้เนื่องจากไม่ต้องการนำเสนอว่าพระวอพระตาจะกลายมาเป็นวีรบุรุษเมืองอุบลราชธานีอย่างไร ภาพผู้พ่ายแพ้ดังกล่าวจึงไม่ถูกกล่าวถึง นอกจากนี้พบว่ากลวิธีการนำเสนอภาพแทนพระวอพระตาในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขงทั้ง 3 ฉบับมีการนำเสนอผ่านกลวิธีกลวิธีการเล่าเรื่อง ซึ่งพบว่ามีการสร้างความขัดแย้งเพื่อเสนอแก่นเรื่อง การเสนอมุมมองในการเล่าเรื่อง การใช้คำเรียกพระวอพระตา การนำเสนอโครงเรื่อง นอกจากนี้ยังมีกลวิธีการนำเสนอเหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาพแทนวีรบุรุษ ประกอบด้วย 4 เหตุการณ์สำคัญ คือ เหตุการณ์การเป็นผู้นำ เหตุการณ์การวางแผน เหตุการณ์การต่อสู้ เหตุการณ์การชนะศึก ส่วนเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดภาพแทนกบฏ ประกอบด้วย 3 เหตุการณ์สำคัญ คือ เหตุการณ์ผู้คัดค้านค้านทรยศ เหตุการณ์การอพยพ เหตุการณ์การแพ้ศึก ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 2 ลักษณะที่ผู้วิจัยกล่าวมานี้ ได้ผ่านกระบวนการตีความจากผู้ประพันธ์และให้ความหมายพระวอพระตาผ่านกลวิธีการนำเสนอเหตุการณ์ ทั้งนี้การศึกษาภาพแทนพระวอพระตาในเรื่องเล่าพื้นเมืองสองฝั่งโขง ทำให้เข้าใจบทบาทของเรื่องเล่าพื้นเมืองที่มีต่อการสะท้อนภาพแทน อันเป็นภาพที่ถูกนำเสนอจากมุมมองของคนลุ่มน้ำโขง ทั้งไทยและลาว นอกจากนี้เรื่องเล่าพื้นเมืองดังกล่าว ยังสามารถสะท้อนให้เห็นกระบวนการประกอบสร้างความหมายของพระวอพระตาในแง่ของวีรบุรุษและกบฏที่ถูกมองจากสายตาคนไทยและคนลาว กระทั่งนำไปสู่การสร้างสำนึกร่วมของคนทั้งสองกลุ่ม      
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/62
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180017.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.