Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/800
Title: Code-Switching of the Khamar Ethnography Group in the Multilingval Community Dong Khrang Yai Subdistrict Kasetwisai District of Roi-Et Province
การสลับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในชุมชนหลายภาษา ตำบลดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 
Authors: Orawan Thongdee
อรวรรณ ทองดี
Bunyat Sali
บัญญัติ สาลี
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การสลับภาษา
กลุ่มชาติพันธุ์
ประเภท
ลักษณะและภาษา
หน้าที่การสลับภาษา
Semantics of Code-Switching
Ethnic Groups
Types
Characteristics and Language
Function Semantics of Code-Switching
Issue Date:  27
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study types of language to semantics of code-switching. to study characteristics and language of code-switching. and to study the Function Semantics of Code-switching the Khamar ethnography group in the Multilingval community Dong Khrang Yai Subdistrict Kasetwisai District of Roi-Et Province. To observation method domain stations the Temple School Fresh Market and Hospital. The participants were divided into three groups based on their age: Teenagers (25-35), Middle-aged person (35-45), and aged-senile (45-65). of forty eight people. The result of this study shows that.            1. The types of language to semantics of code-switching the Khamar ethnography group in the Multilingval community Dong Khrang Yai. The result of had 3 the types of language to semantics. These were Situational code-switching Metaphorical code-switching and Conversational code-switching. The result of types Situational code-switching the percentage showed was 50 % in the domain premises all and groups age. The part Metaphorical code-switching and Conversational code-switching the percentage showed equal was 25%            2. The characteristics and language of code-switching the Khamar ethnography group in the Multilingval community Dong Khrang Yai. The result of had 3  Characteristics the Khamar ethnography group. These were of Intra-sentential switching Inter-sentential switching and Tag switching. The result of Characteristics the Khamar ethnography group of Characteristics Intra-sentential switching the percentage showed was 50 % in the domain premises all and groups age. The part Inter-sentential switching and Tag switching the percentage showed equal was 25 %                       The part Language of code-switching the Khamar ethnography group.  The result of the Khamar ethnography group in Thailand to the Khamar communication Language to the Khamar ethnography group. The Isan Language most code-switching.The Inferior was Language Thai, but of the Khamar ethnography group Language of code-switching in the domain premises all. The other ethnography groups live together in the domains. The Khamar ethnography group communication be a principle use Language Thai into use Khamar Language and Isan Language to Language of code-switching. The Khamar Language ethnography group to Khamar Language the percentage showed was 50 %, The Inferior was Isan Language and Language Thai the percentage showed was 25 %,           3. The Function Semantics of Code-switching of code-switching the Khamar ethnography group in the Multilingval community Dong Khrang Yai. The result of had 8 the functions of language code-switching. These were Clarifications Declaration Interjection Emphasis Request Gratitude Apology and Reiteration. The result suggests that the function for Reiteration that the percentage showed was 100 %; The Inferior was Declaration the percentage showed was 75 %; and the percentage showed  Interjection was 25 % the respectively.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเภทของภาษาที่มีการสลับ เพื่อศึกษาลักษณะและภาษาในการสลับภาษา และเพื่อศึกษาหน้าที่ของการสลับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในชุมชนหลายภาษา ตำบลดงครั้งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยวิธีการสังเกตตามแวดวงสถานที่วัด โรงเรียน ตลาดสด และโรงพยาบาล โดยมีกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น (อายุ 25-35) กลุ่มวัยกลางคน (อายุ 35-45 ปี) และกลุ่มวัยชรา (อายุ 45-65 ปี) จำนวน 48 คน ผลการศึกษาพบว่า            1. ประเภทของการสลับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในชุมชนตำบลดงครั่งใหญ่ พบว่า มีประเภทของการสลับภาษา จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ การสลับภาษาตามสถานการณ์ การสลับภาษาแบบอุปลักษณ์ และการสลับภาษาในการสนทนา โดยพบว่า ประเภทการสลับภาษาตามสถานการณ์มีจำนวนความถี่มากที่สุดในทุกแวดวงสถานที่และกลุ่มอายุ  คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนประเภทการสลับภาษาแบบอุปลักษณ์และการสลับภาษาในการสนทนา คิดเป็นร้อยละ 25 เท่ากัน            2. ลักษณะและภาษาในการสลับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในชุมชนตำบลดงครั่งใหญ่ พบว่า มีลักษณะการสลับภาษา จำนวน 3 ลักษณะ ได้แก่ การสลับภาษาภายในประโยค การสลับภาษาระหว่างประโยค การสลับภาษาโดยการแทรกคำหรือวลีภายในประโยค โดยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์เขมรมีลักษณะการสลับภาษาภายในประโยคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50  ส่วนการสลับภาษาระหว่างประโยค และการสลับภาษาโดยการแทรกคำหรือวลีภายในประโยค คิดเป็นร้อยละ 25 ในทุกแวดวงสถานที่และกลุ่มอายุ                ส่วนภาษาที่ใช้ในการสลับภาษาที่กลุ่มชาติพันธุ์เขมรใช้ในการสลับภาษา พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์เขมรในไทยใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์เขมร โดยมีการใช้ภาษาอีสานมาสลับภาษามากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาไทย แต่เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์เขมรมาสลับภาษาในแวดวงต่าง ๆ ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นอยู่ร่วมในแวดวงนั้น ๆ กลุ่มชาติพันธุ์เขมรใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารกันเป็นหลัก แล้วใช้ภาษาเขมรและภาษาอีสานมาสลับภาษา ภาษาที่กลุ่มชาติพันธุ์เขมรคือ ภาษาเขมร คิดเป็น ร้อยละ 50 รองลงมาคือ ภาษาอีสาน และภาษาไทยกลาง คิดเป็นร้อยละ 25 เท่ากัน            3. หน้าที่ของการสลับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในชุมชนตำบลดงครั่งใหญ่ พบว่า หน้าที่ของการสลับภาษา จำนวน 8 หน้าที่ ที่กลุ่มชาติพันธุ์เขมรใช้ในการสลับภาษา ได้แก่ การอธิบาย การแจ้ง การอุทาน การเน้นย้ำ การอ้างขอ การขอบคุณ การขอโทษ และการกล่าวซ้ำ โดยพบว่า หน้าที่ของการสลับภาษา การกล่าวซ้ำ พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือ การแจ้ง คิดเป็นร้อยละ 75 น้อยที่สุดคือ การอุทาน คิดเป็นร้อยละ 25 ตามลำดับ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/800
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010180009.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.