Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/852
Title: Creative Thinking Development of Kindergarteners 3 with Storytelling Activities
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน
Authors: Pakamon Sawangsook
ภคมน สว่างสุข
Prasong Saihong
ประสงค์ สายหงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
การเล่านิทาน
นักเรียนระดับอนุบาล
Creative Thinking Development
Storytelling
Kindergarteners
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The present study aimed 1) to develop experience activities using storytelling to improve creative thinking of kindergarteners 3 to achieve the criteria of 75 percent, 2) to study the learning behaviors of kindergarteners 3 through storytelling activities. The participants of the study were 9 of kindergarteners 3 who were studying in the 1st semester of 2020 academic year in Ban Khok Rahoei School, Prasat sub-district, Ban Kruat district, Burirum province. The instruments used in the study consisted of 4 lesson plans of storytelling activities, creative thinking test and learning behaviors test. The statistics used in the study comprised of mean and percentage. The results of the study revealed that: 1. The creative thinking development of kindergarteners 3 by using storytelling activities shown that 75 percent of students achieved the criteria of the study. The results also revealed that 7 students improved creative thinking by storytelling using mouth which was 77.78 percent. 8 students improved creative thinking by storytelling using gesture which was 88.88 percent, 8 students improved creative thinking by storytelling using voice which was 88.88 percent, 9 students improved creative thinking by storytelling using picture which was 100.00 percent, 9 students improved creative thinking by storytelling using materials which was 100.00 percent. Moreover, students improved creative thinking of each aspect as follows; 7 students improved originality skill which was 77.78 percent, 8 students improved fluency skill which was 88.88 percent, 8 students improved flexibility skill which was 88.88 percent, 9 students improved elaboration skill which was 100.00 percent. Hence, the results of creative thinking development could be ordered as follows; elaboration skill, flexibility skill, fluency skill and originality skill respectively. 2. The results of learning behaviors using storytelling activities revealed that 8 students of kindergarten 3 ranged in good level which was 88.89 percent, 1 students of kindergarten 3 ranged in fair level which was 11.11 percent.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์การเล่านิทานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านโคกระเหย ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จำนวน 4 แผน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ด้วยกิจกรรมการเล่านิทานนักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 จากการเล่านิทานปากเปล่า จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 การเล่านิทานประกอบท่าทาง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.88 การเล่านิทานโดยใช้เสียงประกอบ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.88 การเล่านิทานโดยใช้ภาพประกอบ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 การเล่านิทานโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และนักเรียนมีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 ความคิดคล่องแคล่ว จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.88 ความคิดยืดหยุ่น จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.88 ความคิดละเอียดลออ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 มีความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดละเอียดลออ มาเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ความคิดยืดหยุ่น ความคิดคล่องแคล่ว และความคิดริเริ่ม ตามลำดับ 2. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน ระดับดี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 และระดับพอใช้จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/852
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010586017.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.