Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/921
Title: The relationship between texts and ideas in the Urangadhatu
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและชุดความคิดในตำนานอุรังคธาตุ  
Authors: Chanyuth Sonjan
ชาญยุทธ  สอนจันทร์
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: สัมพันธบท
วิธีคิด
ตำนานอุรังคธาตุ
Intertextuality
Ways of thinking
Urangadhatu
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research study on the relationship between texts and ideas in the Urangadhatu legend is a qualitative research methodology that appears in the  Urangadhatu legend content by using the concept of intertextuality,  the spread of fairy tales, and the concept of the way of thinking. It was a framework for analyzing research objectives in two main issues: 1) to study the relationship between the texts in the Urangadhatu legend; 2) to study the reflections of the thoughts in the Urangadhatu legend. The analysis results articulated that the 6 versions of the Urangadhatu legend are related to each other by borrowing and linking information to each other. It shows that one chapter cannot be alone without the other. However, in the Urangadhatu legend text, the information is borrowed from one another when spreading from one chapter to another. This causes a change in the details of the chapter's content by adding additional enhancements to take the differences out. The path of borrowing links information between the script traces the relationship in various ways, including 1) the relationship of additional content of the Urangadhatu legend is a story with significant content about the main containing Phra Urangadhatu. Most of the content is a legend that has been passed down for a long time consisting of the content that mixes Buddhist stories with local tales of ancient legends. The results of the study demonstrate that more details about the historical events are added, and there is more content of the stories about the restoration of Phra That Phanom, which has been restored since the Lan Xang Kingdom continued to the time when Phra That Phanom was under the supervision the Thai state now. Throughout the details of the play characters, such as the king,  monk, and the Mahesak ghost, the city pillar came in to make the content of the Urangadhatu legend more, which reflects that the Urangadhatu legend, when it spreads from one version of the Urangadhatu legend to another, would be added to different details of the content. 2) Relationships of reducing the content presenting the Urangadhatu legend content when one of the Urangadhatu legends is transferred to another one. Inevitably, there is a reduction in the content of the Urangadhatu legend that it is deliberately and unintentionally, which the study found that there is a reduction in the content of the Urangadhatu legend with two characters: the reduction in the content by eliminating any part of the original the Urangadhatu legend, and reducing the form of summarized content. This is a reduction in the summary or inclusion of content and keeping the main content. 3) The relationship between the inversion of the content and the story's procedures in the text of Urangadhatu legend from one version to the other has been arranged in a different order of content. The study found that in order to sort the content of the Urangadhatu legend, which has reversed content in the form of the storyline, and there is interchangeability in the form of confusion, which is an alternation caused by the complication and confusion with each other in the content of the Urangadhatu legend. For the study of reflections on the set of thoughts in Urangadhatu legend, there are four aspects of ideas found together: 1) the set of the religious idea found that there are 03 aspects of religious beliefs, which are traditional, Buddhist beliefs, and a set of ideas about combining religion by a set of ideas about traditional beliefs and related to the Buddhist mindset. A reflection of the thought characterizes it through the concept of sacred space, character, and character's behavior. There are implications of combining traditional beliefs and Buddhism while the idea of integrative religion, which has characteristics reflecting the implicit thought combinations of contradictory, acceptable, and a combination of relationships. 2) The set of political thoughts found a set of thoughts that convey the implications of politics in two aspects: the contention of meaning through religious beliefs and strengthening political ideologies through the Buddhist belief system. It is one of the tools in establishing the legitimate rights of the monarchy. 3) the set of thoughts-based gender found a gender negotiation between the male and the female. There was a push to drive women out of the Buddhist path, and claiming the rights that a male is a person who has access to the dharma and is more virtuous while women struggle to negotiate in the manner of being a patron of Buddhism and a royal allegiance in order to gain access to the Buddhist path. 4) The idea of ethnography found that there was a characteristic of building a network of mainstream Buddhist communities to have the same ethnicity as Buddhism. It was building a network of Buddhist communities in the Mekong River basin by adhering to Phra That Phanom as the center of faith to claim the right to be the one who is under the shadow of the same Phra That Phanom.
งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและชุดความคิดในตำนานอุรังคธาตุเป็นการวิจัยแบบการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและชุดความคิดที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของตำนานอุรังคธาตุ โดยใช้แนวคิดเรื่องสัมพันธบท การแพร่กระจายของนิทาน และแนวคิดเรื่องวิธีคิดมาเป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ตามความมุ่งหมายการวิจัย 2 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทในตำนานอุรังคธาตุ 2) เพื่อศึกษาบทสะท้อนชุดความคิดในตำนานอุรังคธาตุ ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่าตำนานอุรังคธาตุทั้ง 6 ฉบับ มีเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยการหยิบยืมถ่ายโยงข้อมูลให้แก่กันและกัน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของเนื้อหาในตัวบทโดยการเพิ่มเสริมเติมแต่งให้มีความแตกต่างกันออกไป บทเส้นทางของหยิบยืมถ่ายโยงข้อมูลกันระหว่างตัวบทได้ทิ้งร่องรอยความสัมพันธ์กันในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ด้านการเพิ่มความในเนื้อหา ตำนานอุรังคธาตุเป็นเรื่องราวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบรรจุพระอุรังคธาตุเป็นสำคัญ มีเนื้อหาที่ผสมผสานระหว่างเรื่องราวทางพระพุทธศาสนากับตำนานนิทานท้องถิ่นหรือมีตำนานปรัมปราปะปนอยู่ ผลจากการศึกษาพบว่ามีการเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และมีการเพิ่มเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้างสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงสมัยที่พระธาตุพนมอยู่ในความดูแลของรัฐไทยจวบจนปัจจุบัน ตลอดถึงได้มีการเพิ่มรายละเอียดของตัวละคร ได้แก่ ตัวละครกษัตริย์ ตัวละครพระสงฆ์ และตัวละครผีมเหสักข์หลักเมืองเข้ามาทำให้เนื้อหาของตำนานอุรังคธาตุบางฉบับมีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น มีการเพิ่มเสริมเติมแต่งรายละเอียดของเนื้อหาให้แตกต่างกันออกไป 2) ความสัมพันธ์ด้านการลดความในเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหาในตำนานอุรังคธาตุนั้น เมื่อตำนานอุรังคธาตุฉบับหนึ่งถูกถ่ายโอนด้านเนื้อหาให้กับตำนานอุรังคธาตุอีกฉบับหนึ่ง พบว่ามีการลดความในเนื้อหาซึ่งปรากฏอยู่ 2 ลักษณะ คือการลดความแบบการตัดเนื้อหา เป็นการลดความโดยการตัดเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งของตำนานอุรังคธาตุที่เป็นต้นแบบออกทั้งหมด และการลดความแบบสรุปเนื้อหา เป็นการลดความแบบสรุปย่อความหรือการผนวกเนื้อหาโดยรักษาเนื้อหาหลักเอาไว้ 3) ความสัมพันธ์ด้านการสลับความในเนื้อหา การดำเนินเรื่องในเนื้อหาของตัวบทตำนานอุรังคธาตุบางฉบับมีการเรียงลำดับของเนื้อหาแตกต่างไปฉบับอื่น ๆ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในการเรียงลำดับเนื้อหาของตำนานอุรังคธาตุนั้นมีการเรียงลำดับเนื้อหาสลับความกันอยู่ซึ่งจะมีทั้งการสลับความกันของเนื้อหาในรูปแบบของเหตุการณ์โครงเรื่องเนื้อหา และมีการสลับความกันในรูปแบบของการสับสนความซึ่งเป็นการสลับความที่เกิดจากการสับสนความด้วยกันเองในเนื้อหาของตำนานอุรังคธาตุ สำหรับการศึกษาบทสะท้อนชุดความคิดในตำนานอุรังคธาตุนั้น พบชุดความคิดอยู่ 4 ลักษณะด้วยกัน คือ 1) ชุดความคิดว่าด้วยเรื่องศาสนา พบชุดความคิดที่เป็นความเชื่อทางศาสนาอยู่ 3 ลักษณะ คือชุดความคิดเกี่ยวกับความเชื่อแบบดั้งเดิม ชุดความคิดเกี่ยวกับความเชื่อแบบพุทธศาสนา และชุดความคิดเกี่ยวกับการผสมผสานทางศาสนา โดยชุดความคิดเกี่ยวกับความเชื่อแบบดั้งเดิมและชุดความคิดเกี่ยวกับความเชื่อแบบพุทธศาสนานั้นมีลักษณะการสะท้อนชุดความคิดผ่านวิธีคิดด้านพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตัวละคร และพฤติกรรมของตัวละคร อันมีนัยของการผสมผสานกันความคิดในความเชื่อแบบดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนาอยู่ ขณะที่ชุดความคิดเกี่ยวกับการผสมผสานทางศาสนานั้นมีลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานกันทางความคิดที่มีนัยของการผสมผสานแบบขัดแย้ง การผสมผสานแบบยอมรับ และการผสมผสานแบบแสดงความสัมพันธ์ 2) ชุดความคิดว่าด้วยเรื่องการเมือง พบชุดความคิดที่สื่อให้เห็นถึงนัยการเมืองอยู่ 2 ลักษณะ คือ การช่วงชิงความหมายผ่านระบบความเชื่อทางศาสนา และการเสริมสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านระบบความเชื่อทางพระพุทธศาสนา อันเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในสร้างสิทธิอันชอบธรรมให้แก่ระบบกษัตริย์ 3) ชุดความคิดว่าด้วยเรื่องเพศ พบว่ามีลักษณะมีการต่อสู้ต่อรองเรื่องเพศระหว่างเพศชายกับเพศหญิง มีการเบียดขับเพศหญิงให้ออกจากพื้นที่ทางพระพุทธศาสนา และอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมว่าเพศชายคือผู้เข้าถึงธรรมและมีฐานะเป็นผู้มีบุญบารมีมากกว่า ขณะเดียวกันเพศหญิงก็พยายามต่อสู้ต่อรองในลักษณะของความเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาและเป็นคู่บุญบารมีของกษัตริย์เพื่อที่จะเข้าถึงพื้นที่ทางพระพุทธศาสนา  4) ชุดความคิดว่าด้วยเรื่องชาติพันธุ์ พบว่ามีลักษณะของการสร้างเครือข่ายความเป็นชุมชนทางพุทธศาสนาแบบกระแสหลักเพื่อให้มีความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาเดียวกัน และมีการสร้างเครือข่ายความเป็นชุมชนทางพุทธศาสนาในลุ่มน้ำโขง โดยการยึดโยงพระธาตุพนมเป็นศูนย์รวมศรัทธาเพื่ออ้างสิทธิ์ความเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระธาตุพนมองค์เดียวกัน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/921
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010161003.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.